Worldcom-โกงระดับโลก

August 22, 2017 | Author: tree607 | Category: N/A
Share Embed Donate


Short Description

Download Worldcom-โกงระดับโลก...

Description

โกงระดับโลก ตอนที่2: Worldcom Corporation บริษัท เวิร์ลคอม คอร์ปอเรชัน จากัด เป็นบริษัทโทรคมนาคมขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกา บริษัท แห่งนี้มีที่มาโดยเริ่มต้นจากนาย Bernie Ebbers ซึ่งร่ารวยมาจากธุรกิจโรงแรม ต้องการที่จะหาช่องทางใน การลงทุนใหม่ๆ ขณะเดียวกันในปี 1983 บริษัท AT&T ได้ถูกศาลสั่งให้แบ่งแยกธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ โทรศัพท์ทางไกลเพื่อให้เกิดการแข่งขันมากขึ้นในธุรกิจนี้ AT&T ได้ถูกบังคับให้ต้องเปิดโอกาสให้บริษัท ขนาดเล็กเข้ามาเช่าสายทางโทรศัพท์ทางไกลของตน และบริษัทเหล่านั้นก็สามารถให้บริการโทรศัพท์ ทางไกลแก่ผู้บริโภคอีกทอดหนึ่ง เอ็บเบอร์ได้ฉวยโอกาสดังกล่าวและก่อตั้งบริษัทให้บริการโทรศัพท์ทางไกล ขึ้นในปีเดียวกัน โดยบริษัทใหม่มีชื่อว่า Long Distance Discount Services (LDDS) เอ็บเบอร์เป็นหนึ่งใน เก้าคนที่ก่อตั้งบริษัทดังกล่าวและเข้าถือหุ้นร้อยละ 14.5 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด แต่เขาปฎิเสธที่จะเป็น กรรมการบริษัทและหวังแต่เพียงว่าจะขายหุ้นที่ตนถืออยู่เพื่อที่จะได้กาไรที่จะเกิดขึ้นเท่านั้น LDDS เริ่มต้นธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์ทางไกลในเดือนมกราคม 1984 ด้วยลูกค้าประมาณ 200 คน อย่างไรก็ตาม ด้วยความไม่ชานาญด้านเทคนิคและการใช้อุปกรณ์ที่ไม่ถูกต้อง ทาให้ LDDS ไม่สามารถ แข่งขันกับคู่แข่งรายอื่นได้ ส่งผลให้ LDDS ขาดทุนถึง1.5 ล้านเหรียญภายในปลายปีเดียวกัน เหตุการณ์ ดังกล่าวทาให้คณะกรรมการบริษัทไปเชิญเอ็บเบอร์มาเป็นกรรมการ เพราะเชื่อว่าด้วยความสามารถทาง การเงินของเอ็บเบอร์จะช่วยให้บริษัทสามารถรอดพ้นการขาดทุนครั้งนี้ไปได้ ในปี 1985 เอ็บเบอร์ได้เข้ามา เป็น CEO ของบริษัท และเขาสามารถที่จะพลิกสถานการณ์ของบริษัทให้กลับมาทากาไรได้ เอ็บเบอร์มี ความสามารถอย่างยิ่งในการที่จะควบคุมค่าใช้จ่าย ลดจานวนพนักงาน และเพิ่มรายได้ให้กับบริษัท ถึง แม้ว่าเอ็บเบอร์จะไม่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจโทรคมนาคม แต่เขามีความเข้าใจอุตสาหกรรมได้ดีและ สามารถพลิกสถานการณ์ให้บริษัทสามารถแข่งขันกับบริษัทอื่นได้ เอ็บเบอร์มองว่าธุรกิจที่ LDDS ทาอยู่จะต้องมุ่งไปที่ขนาดผู้ใช้บริการจานวนมาก (Economy of Scale) ซึ่งเป็นธรรมชาติของการแข่งขันในธุรกิจประเภทนี้ ดังนั้น LDDS จึงวางแผนที่จะขยายกิจการโดย ผ่านช่องทางการรวมและครอบงากิจการ (Merger & Acquisition) ด้วยความสามารถของเอ็บเบอร์ LDDS ในปี 1988 มียอดขายสูงถึง 95 ล้านเหรียญ เป้าหมายของเอ็บเบอร์จึงมุ่งไปที่การระดมทุนจานวนมาก โดยเฉพาะการระดมทุนจากประชาชนผ่านช่องทางตลาดหลักทรัพย์ ความฝันของเอ็บเบอร์ก็ได้เป็นความ จริงกล่าวคือ ในปี 1989 บริษัท Advantage Companies Inc.(ACI) ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้น NASDAQ ประสพกับปัญหาภาวะล้มละลาย ในปีนี้ LDDS ก็สามารถซื้อและเข้าครอบครองกิจการดังกล่าว ในที่สุด ในปี 1989 นี้เองทาง LDDS ได้แต่งตั้งนาย Charles Cannada เป็นประธานเจ้าหน้าที่การเงิน CFO ของ LDDS และต่อมาในปี 1992 Scott Sullivan ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองกรรมการผู้จัดการและ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่การเงินหรือเป็นผู้ช่วยแคนนาดานั่นเอง ปี 1994 ซัลลิแวนก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น

ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน ซัลลิแวนเคยทางานกับ KPMG บริษัทตรวจสอบบัญชีชื่อดังของสหรัฐอเมริกา เขาเป็นคนทางานหนักโดยประมาณว่าซัลลิแวนต้องทางานหนักถึงวันละ 20 ชั่วโมง ด้วยรูปแบบการทางาน ดังกล่าว ซัลลิแวนได้ทาให้ LDDS เป็นบริษัทที่กระตือรือร้นในการเข้าไปครอบงากิจการของบริษัทอื่น ในช่วงปี 1990-1995 LDDS ได้ขยายธุรกิจเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและยังรุกเข้าสู่ธุรกิจการให้เช่า สายสัญญาณอินเทอร์เน็ตอีกด้วย LDDS ได้ใช้กลยุทธเช่าสายสัญญาณจากบริษัทใหญ่จานวนมากๆและ มาปล่อยให้เช่าต่อกับบริษัทรายเล็กๆ บริษัทได้ขยายตัวไปยังภูมิภาคอื่นๆไม่ว่าจะเป็นมลรัฐแคลิฟอร์เนีย และภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกา ในปี 1995 LDDS เข้าไปครอบงากิจการบริษัทให้เช่า สายสัญญาณขนาดใหญ่คือ บริษัท WilTel เพื่อที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายและแสวงผลประโยชน์จากธุรกิจที่ เอื้อกัน ในเดือนพฤษภาคม 1995 LDDS ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น WorldCom เพื่อที่จะเข้ากับเป้าหมายใหม่ ของบริษัทคือ การให้บริการโทรคมนาคมระดับโลก

จาก LDDS…..สู่ Worldcom….. ซื้อ MCI โดยการซื้อกิจการของบริษัท UUNET Technologies ซึ่งมีประธานเจ้าหน้าที่บริหารคือ นาย John Sidgmore การครอบงากิจการครั้งนี้ทาให้เวิร์ลคอมสามารถที่เข้าไปแข่งขันในตลาดอินเทอร์เน็ตได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และซิกมอร์ก็ได้เป็นประธานฝ่ายอินเทอร์เน็ตของเวิร์ลคอม ในปี 1996 ประเทศอังกฤษได้มีการออกกฎหมายโทรคมนาคม เพื่อที่จะกระตุ้นการแข่งขันในตลาด โทรคมนาคมและนาไปสู่ค่าบริการที่ลดลงเรื่อยๆเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค กฎหมายดังกล่าวยังทาให้การ ควบรวมกิจการที่เพิ่มขึ้น ในปี 1999 บริษัท British Telecom (BT) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ ของอังกฤษ เริ่มมีความสนใจที่จะควบรวมกิจการกับบริษัท MCI ที่เป็นผู้ให้บริการในธุรกิจเดียวกัน ในเวลา นัน้ BT ถือหุ้น MCI อยู่สูงถึงร้อยละ 20 อย่างไรก็ตามเวิร์ลคอมซึ่งเป็นบริษัทอเมริกันก็สามารถชนะการ ประมูลและสามารถควบรวมกิจการกับ MCI ได้ หลังการควบรวมกิจการเวิร์ลคอมนับได้ว่าเป็นหนึ่งใน บริษัทที่มีศักยภาพในตลาดหุ้น NASDAQ ราคาหุ้นของเวิร์ลคอมยังได้รับการสนับสนุนจากนาย Jack Grubman ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์จากบริษัทการเงินชื่อดัง Salomon Smith Barney ราคาหุ้นของเวิร์ลคอมถึงจุดสูงสุดในปี 1999 มูลค่าหุ้นของเวิร์ลคอมสูงถึง115 พันล้านเหรียญ ใน เวลานั้นเวิร์ลคอมติดอยู่ในอันดับที่ 14 ของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาและติดอันดับที่ 24 ของบริษัท ที่ใหญ่ที่สุดในโลก หลังจากการควบรวมกิจการกับ MCI เรียบร้อยแล้ว เวิร์ลคอมก็ยังอยากที่จะควบรวม กิจการต่อไป เป้าหมายใหม่ที่เวิร์ลคอมมองไว้คือ Nextel ซึ่งบริษัทแห่งนี้มีความเข้มแข็งในการแข่งขันใน ธุรกิจอินเทอร์เน็ต ด้วยเหตุนี้ซิกมอร์จึงให้ความสนับสนุนอย่างยิ่งในการเข้าครอบงากิจการของเน็กซ์เทล อย่างไรก็ตามซัลลิแวนกลับมองตรงข้ามและคัดค้านการที่เวิร์ลคอมจะเข้าครอบงากิจการของเน็กซ์เทล ในช่วงแรกแนวความคิดดังกล่าวนี้ เอ็บเบอร์มีท่าทีที่ให้การสนับสนุนซิกมอร์ แต่หลังจากที่ซัลลิแวนไม่เห็น ด้วย ท่าทีของเอ็บเบอร์ก็เปลี่ยนไป การครอบงากิจการเน็กซ์เทลก็ไม่เกิดขึ้น ตามมาด้วยบทบาท ที่ลดลงไป

เรื่อยๆของซิกมอร์ จนในที่สุดซิกมอร์ที่มีตาแหน่งเป็นรองประธานบริษัทฯ แต่กลับไม่มีบทบาทใดๆเลยใน บริษัท หลังการล้มแผนการครอบงากิจการเน็กซ์เทลไปแล้ว เวิร์ลคอมก็ไม่ได้หยุดยั้งในการครอบงากิจการ ลง ในปี 1998 อย่างไรก็ตามในเวลานั้นธุรกิจอินเทอร์เน็ตเริ่มเข้าสู่ภาวะชะงักงัน และการให้บริการโทรศัพท์ ทางไกลก็มีคู่แข่งเพิ่มขึ้นมาก เวิร์ลคอมพบว่าเป็นสิ่งที่ยากอย่างยิ่งที่จะรักษาอัตราการทากาไรให้อยู่ใน ระดับสูงเช่นที่ผ่านมา ดังนั้นการเข้าครอบครองกิจการของสปรินท์จะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้ เวิร์ลคอม ในเดือนเมษายน 2000 ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของเวิร์ลคอมมีมติอนุมัติการซื้อกิจการของสปรินท์ แต่ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปพิจารณาว่าการควบรวมกิจการดังกล่าวจนส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่ ไม่เป็นธรรม ในเดือนมิถุนายน 2000 กระทรวงยุติธรรมของอเมริกาได้พิจารณาและสรุปผลว่า การควบรวม กิจการไม่สามารถกระทาได้เพราะจะก่อให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เอ็บเบอร์จึงตัดสินใจยุติการควบ รวมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งต่อมาส่งผลโดยตรงกับราคาหุ้นของเวิร์ลคออม ความล้มเหลวที่เกิดจากการไม่ สามารถควบรวมกับสปรินท์ได้นั้นยังเป็นการหยุดยั้งเวิร์ลคอมให้ไม่สามารถขยายงานไปสู่เทคโนโลยีชั้น นสูงได้ ในเดือนมิถุนายน 1999 ราคาหุ้นของเวิร์ลคอมขึ้นสูงไปถึง 62 เหรียญต่อหุ้น แต่หลังจากนั้นเพียง 1 ปีราคาหุ้นก็ตกลงมาอยู่ที่ 46 เหรียญต่อหุ้น ราคาหุ้นที่ขึ้นลงอย่างรวดเร็วทาให้ผู้ลงทุนในตลาดหุ้นเริ่มมี ความรู้สึกว่าความสาเร็จของเวิร์ลคอมมักจะมาจากการควบรวมกิจการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความ ล้มเหลวจากการควบรวมกิจการกับสปรินท์จึงทาให้ราคาหุ้นของเวิร์ลคอมเริ่มหยุดนิ่งและลดลงมาเรื่อยๆ และเมื่อราคาหุ้นลดลงก็จะนาไปสู่ความตกต่าในอนาคตของบริษัท

เวิร์ลคอมให้เงินกู้ยืมแก่เอ็บเบอร์ ในช่วงปี 1995-1999 เอ็บเบอร์ได้ใช้จ่ายเงินจานวนมหาศาลเพื่อซื้อทรัพย์สินส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็น การซื้อที่ดินในบริติชโคลัมเบียเป็นจานวนเงินกว่า 66 ล้านเหรียญ การซื้อเรือยอร์ชส่วนตัว เป็นต้น ในปี 1999 เขาตั้งบริษัทส่วนตัวเพื่อซื้อที่ดินในมลรัฐอลาบามา มิสซิสซิปปี และเทนเนสซี เป็นมูลค่ากว่า 400 ล้านเหรียญ ในปี 2002 เวิร์ลคอมได้ทารายการให้กู้ยืมเงินแก่เว็บเบอร์เป็นจานวนเงินสูงถึง 341 ล้าน เหรียญ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 2.16 ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ยังต่ากว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่ เวิร์ลคอมไปกู้ยืมมาจริงๆเสียอีก เหตุผลที่จะต้องตอบผู้ถือหุ้นของเวิร์ลคอมคือ ทาไมคณะกรรมการบริษัท เวิร์ลคอมจึงให้นโยบายการให้กู้เงินที่ดีมากเช่นนี้กับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คาตอบที่พอจะเป็นไปได้คือ ความกังวลที่กลัวว่าเอ็บเบอร์อาจจะต้องใช้เงินจนต้องขายหุ้น เวิร์ลคอมที่ตนถืออยู่ออกไปผ่านตลาดหุ้น และจะนาไปสู่ผลกระทบทางลบต่อราคาหุ้นของเวิร์ลคอมเอง และถ้าเอ็บเบอร์ขายหุ้นออกไปเป็นจานวนมาก สิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้คือ ราคาหุ้นของเวิร์ลคอมก็จะ ตกต่าลงอย่างแน่นอน (New York Daily News/ 25 March 2002)

Cynthia Cooper คณะกรรมการตรวจสอบ และบริษัทตรวจสอบบัญชี ในปี 2001 ผู้ตรวจสอบภายในเริ่มพบปัญหาที่ไม่ปกติในส่วนของบัญชีรายการขายสินค้า ในเดือน มิถุนายนปีเดียวกันปรากฏรายการจ่ายเกินค่าคอมมิชชั่นเป็นจานวนสูงถึง 930,000 เหรียญ ในเดือน มีนาคมปี 2002 ผู้ตรวจสอบภายในที่ชื่อ Cynthia Cooper ได้รายงานรายการที่ต้องสงสัยต่อคณะกรรมการ ตรวจสอบ ซึ่งรายการดังกล่าวเป็นรายการค่าใช้จ่ายและควรจะลงบัญชีเป็นรายการค่าใช้จ่ายตามปกติ แต่ กลับไปลงเป็นรายการการลงทุน สิ่งที่เกิดขึ้นต่อระบบบัญชีคือ การตัดค่าใช้จ่ายในกรณีที่เป็นค่าใช้จ่าย ปกติจะตัดครั้งเดียวและในปีที่เกิดรายการนั้นๆ แต่หากเป็นการลงทุนจะทยอยตัดเป็นเวลาหลายปี ด้วย วิธีการดังกล่าวจะทาให้ผลการดาเนินงานของเวิร์ลคอมในปีนั้นจะมีค่าใช้จ่ายต่ากว่าปกติ พร้อมกับผลกาไร ที่มากขึ้น คูเปอร์ได้รายงานเรื่องนี้ต่อคณะกรรมการตรวจสอบ แต่คณะกรรมการตรวจสอบไม่ได้แสดงท่าที ใดๆต่อเรื่องดังกล่าว ในทางตรงข้ามถ้าหากคณะกรรมการตรวจสอบแสดงปฎิกิริยาต่อเรื่องดังกล่าวอย่าง รวดเร็ว ก็จะทาให้ความเชื่อมั่นของผู้ถือหุ้นที่มีต่อราคาหุ้นของเวิร์ลคอมยังคงจะมั่นคงอยู่ ในฐานะผู้ตรวจสอบภายใน คูเปอร์พยายามที่จะค้นหาการอธิบายที่น่าพอใจสาหรับรายการ ค่าใช้จ่ายที่ซัลลิแวนไปลงเป็นงบลงทุน ในปี 2002 ซิกมอร์ได้เปลี่ยนผู้ตรวจสอบบัญชีจาก Arthur Andersen ไปเป็น KPMG แทน คูเปอร์ได้รายงานเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการตรวจสอบในวันที่ 13 มิถุนายน 2002 จากนั้นมาซัลลิแวนก็ได้รับการสอบถามเรื่องดังกล่าวอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรอีกด้วย Arthur Andersen รายงานว่าขณะที่ทางบริษัทเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีนั้น ไม่เคยปรากฏว่ามีการ ปรึกษาหารือการลงบัญชีในรูปแบบดังกล่าว และทั้งไม่สามารถอธิบายได้ว่าทาไมพนักงานตรวจสอบของ ตนจึงไม่ได้นาปัญหาดังกล่าวรายงานต่อทางบริษัท ในที่สุด ซัลลิแวนก็ถูกไล่ออกจากตาแหน่งประธานเจ้าหน้าที่การเงินเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2002 สองวันหลังจากนั้นมีการรายงานว่าเวิร์ลคอมรายงานกระแสเงินสดเกินจากตัวเลขจริงสูงถึง 3.8 พันล้าน เหรียญระหว่างห้าไตรมาสสุดท้าย และการเป็นการลงรายการบัญชีที่บกพร่องและร้ายแรงที่สุดกรณีหนึ่ง ของอเมริกา โดยคาดการณ์กันว่าเพราะเหตุการณ์นี้เวิร์ลคอมคงจะต้องเข้าสู่ขบวนการล้มละลายในไม่ช้า เวิร์ลคอมยังต้องพบกับการสอบสวนจากรัฐบาลกลาง และยังต้องดิ้นรนปรับปรุงโครงสร้างหนี้มูลค่ากว่า สามหมื่นล้านเหรียญ ในขณะที่ระดับความน่าเชื่อถือของฐานะบริษัทก็อยู่ในระดับย่าแย่ที่สุด (Junk-bond status) และราคาหุ้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2002 ก็ลดต่าลงมาแล้วกว่าร้อยละ 94 จากราคาสูงสุด (New York Times/ 26 June 2002)

Worldcom และ Salomon Smith Barney ในปี 2002 ขณะที่ราคาหุ้นของเวิร์ลคอมกาลังดาดิ่งจากความล้มเหลวในการควบกิจการกับส ปรินท์ การให้กู้ยืมเงินจานวนมากแก่ผู้บริหาร การลงรายการบัญชีที่ผิดพลาด และอื่นๆ พนักงานของบริษัท ก็ยังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงอีกด้วย ในปี 1997 เวิร์ลคอมมอบหมายให้ซาโลมอนเป็นผู้จัดการแต่เพียงผู้

เดียวเกี่ยวกับผลตอบแทนแก่พนักงานในรูปแบบหุ้น (Employee Stock Option Plan) โดยการให้สิทธิใน การซื้อหุ้นของเวิร์ลคอมในราคาพิเศษ มีรายงานที่แสดงเกี่ยวกับความไม่พอใจของพนักงานเวิร์ลคอมที่มี ต่อซาโลมอน โดยกล่าวหาว่าซาโลมอนพยายามที่จะผลักดันให้พนักงานใช้สิทธิซื้อหุ้นดังกล่าว พร้อมทั้ง ยังให้เงินกู้แก่พนักงานเพื่อซื้อหุ้นอีกต่อหนึ่งด้วย ซึ่งนั่นหมายถึง พนักงานเวิร์ลคอมจะอยู่ในสถานะที่เสี่ยง อย่างมากถ้าหากราคาหุ้นของเวิร์ลคอมตกลงมามาก กล่าวคือนอกจากจะขาดทุนจากราคาที่ใช้สิทธิกับ ราคาหุ้นที่ตกแล้ว พนักงานยังจะต้องเป็นหนี้ซาโลมอนเป็นจานวนมาก โดยที่ซาโลมอนจะเป็นผู้รับ ผลประโยชน์ก้อนโตจากค่าธรรมเนียมในรายการนี้ ในวันที่ 27 มิถุนายน 2002 สภาคองเกรสได้กล่าวโทษ นายซิกมอร์ นายเอ็บเบอร์ และนายซัลลิ แวน สาหรับข้อกล่าวหาต่างๆที่ทาให้สถานะของเวิร์ลคอมย่าแย่ลง นอกจากนั้นคองเกรสยังกล่าวโทษนาย Jack Grubman ในข้อหาที่เป็นนักวิเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจโทรคมนาคม โดยเขาเริ่มต้นงานกับซา โลมอนในปี 1994 และกลายเป็นนักวิเคราะห์ที่มีชื่อเสียงในอุตสาหกรรมนี้ กรับแมนมีความสนิทสนมเป็น พิเศษกับเอ็บเบอร์ นอกจากนั้นยังเป็นผู้สนับสนุนตัวยงของเวิร์ลคอม แม้ว่าราคาหุ้นของเวิร์ลคอมจะตกลง มาอย่างต่อเนื่องหลังจากปี 1999 แต่กรับแมนก็ยังแนะนาให้ผู้ลงทุน “ซื้อ” อยู่นั่นเอง ในเดือนพฤษภาคม 2004 ซิตี้กรุ๊ปซึ่งในขณะนั้นได้ซื้อกิจการของซาโลมอนไปแล้ว ต้องประกาศว่าจะจ่ายเงินจานวน 2.65 พันล้านเหรียญเพื่อที่จะยุติการฟ้องร้องของนักลงทุนที่มีต่อเวิร์ลคอม ในเงินจานวนนี้มีส่วนที่จะต้องชดใช้ ความเสียหายให้แก่นักลงทุนที่ซื้อหุ้นเวิร์ลคอมระหว่างเมษายน 1999 ถึงมิถุนายน 2002 เป็นจานวนสูงถึง 1.19 พันล้านเหรียญ ซึ่งเป็นสิ่งที่กรับแมนได้สร้างภาพที่เกิดความจริงของเวิร์ลคอม จากการทารายการ บัญชีที่มีเจตนาลวงนักลงทุนจนนาไปสู่การล้มละลายของเวิร์ลคอม

บทส่งท้ายของ....WORLDCOM วันที่ 26 มิถุนายน 2002 คณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งสหรัฐอเมริกา (SEC) ได้กล่าวหาเวิร์ลคอมอย่างเป็นทางการในข้อหาปลอมแปลงเอกสารเพื่อที่จะหลอกลวงนักลงทุน ต่อมาวันที่ 21 กรกฎาคม ในปีเดียวกันเวิร์ลคอมก็ยื่นขอคุ้มครองเพื่อเข้าสู่ขบวนการล้มละลาย แต่เนื่องจาก ขนาดของธุรกิจของเวิร์ลคอมที่มีขนาดใหญ่มาก จึงมีความกังวลแพร่ออกไปทั่วว่าจะส่งผลกระทบกระเทือน อย่างใหญ่หลวงต่อภาคธนาคาร บริษัทที่เกี่ยวข้อง ธุรกิจโทรคมนาคม และอาจจะลามไปถึงเศรษฐกิจ โดยรวมของสหรัฐอเมริกา เหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นโดยผ่านผลการสารวจความคิดเห็น (Public Opinion Polls) ที่บ่งชี้ว่าเริ่มเกิดวิกฤตความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ของอเมริกา ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวทางรัฐบาลอเมริกาโดยการนาของประธานาธิบดี George W.Bush จึงได้อนุมัติและสนับสนุนกฎหมาย Sarbanes-Oxley Act ในปี 2002 ซึ่งเป็นการเริ่มต้นในการ ปฏิรูปพื้นฐานบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมดของอเมริกา ในเดือนสิงหาคม 2002 ก็ยังพบสิ่ง ผิดปกติในงบการเงินและงบกาไรขาดทุนของเวิร์ลคอมสูงถึง 3.3 พันล้านเหรียญ และวันที่ 10 กันยายนใน

ปีเดียวกันซิกมอร์ก็ลาออกจากตาแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเวิร์ลคอม ในวันที่ 10 ธันวาคมในปี เดียวกันได้มีการว่าจ้างประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่คือนาย Michael Capellas ซึ่งเคยเป็นอดีต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทฮิวเลตต์ เพ็คการ์ด และยังเป็นบุคคลที่บริษัทไมโครซอฟท์อยากให้เขา เข้ามาร่วมงานมากที่สุดคนหนึ่ง ในการว่าจ้างครั้งนี้มีผู้พิพากษาจากรัฐบาลกลางจานวนสองท่านเป็นผู้ ตัดสินใจ และว่าจ้างในค่าตอบแทนที่สูงถึง 20 ล้านเหรียญต่อปี ยังไม่รวมถึงหุ้นที่แคพเพลลาจะได้รับใน ฐานะผู้ที่จะเข้ามากอบกู้เวิร์ลคอมให้กลับมายืนหยัดอยู่ในธุรกิจโทรคมนาคมของอเมริกาต่อไป

นายวีรพงษ์ ชุติภัทร์ นักศึกษาปริญญาเอกโครงการพัฒนาธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

View more...

Comments

Copyright ©2017 KUPDF Inc.
SUPPORT KUPDF