The Sixth Extinction Preview

October 3, 2017 | Author: openworlds | Category: N/A
Share Embed Donate


Short Description

The Sixth Extinction Preview...

Description

ประวัติศาสตร์นับศูนย์: สู่การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 • สุนันทา วรรณสินธ์ เบล แปล จากเรื่อง The Sixth Extinction: An Unnatural History โดย Elizabeth Kolbert พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ op e n wo r l d s, มีนาคม 2559 ราคา 365 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ ฐณฐ จินดานนท์ บุญชัย แซ่เงี้ยว ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ ศิลปกรรม พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ภรณ์ทิพย์ ปิยฤทธิพงศ์ • บรรณาธิการเล่ม ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ บรรณาธิการต้นฉบับ บุญชัย แซ่เงี้ยว ออกแบบปก พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ • จัดทำ�โดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 33 อาคารเอ ห้องเลขที่ 48 ซอยประดิพัทธ์ 17 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2 - 6 1 8 - 4 7 30 e m a i l : o p e n w o r l d s t h a i l a n d @ gmail.com f a c e b ook : w w w . f a c e b o o k . c o m /openw or lds t w i t t e r : w w w . t w i t t e r . c o m / o p enw or lds_th w e b s i t e : w w w . o p e n w o r l ds.in.th จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED เลขที่ 1858/87-90 อาคารที ซี ไ อเอฟทาวเวอร์ ชั้ น ที่ 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8222, 0 - 2 7 39 -8 000 โทรสาร 0 - 2 7 3 9 - 8 3 5 6- 9 w e bs i t e : h t t p : / / w w w . s e - ed.com/

สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ สำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส หมายเลขโทรศัพท์ 02-618-4730 และ 097-174-9124 หรือ Em a il: o p e n w o rld st h a ila [email protected] om

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ โคลเบิร์ต, อลิซาเบธ. ประวัติศาสตร์นับศูนย์: สู่การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6.-- กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2559. 368 หน้า. 1. ภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อม. 2. การสูญพันธุ์ (ชีววิทยา). I. สุนันทา วรรณสินธ์ เบล, ผู้แปล. II. ชื่อเรื่อง. 576.84 ISBN 978-616-7885-30-8

• Copyright 2014 © Elizabeth Kolbert Published by arrangement with The Robbins Office, Inc. and Aitken Alexander Associates Ltd. The Sixth Extinction ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 2014 แปลและจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำ�กัด • ภาพปก: Nicolas Primola/Shutterstock หมายเหตุ: ภาพปกได้รับแรงบันดาลใจจากปกฉบับภาษาอังกฤษ ออกแบบโดย Meryl Sussman Levavi, Bloomsbury Publishing

สารบัญ

อารัมภบท 10 1. การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 16 2. ฟันกรามของมาสโตดอน 38 3. เพนกวินดั้งเดิม 64 4. เคราะห์ของแอมโมไนต์ 92 5. ขอต้อนรับสู่สมัยแอนโธรโพซีน 118 6. ทะเลรอบตัวเรา 140 7. กรดหยด 158 8. ป่าไม้และต้นไม้ 184

9. หมู่เกาะบนผืนดิน 212 10. มหาทวีปแพนเจียแห่งใหม่ 234 11. แรดตรวจอัลตราซาวด์ 262 12. ยีนความบ้า 284 13. สิ่งที่มีขนนก 310 กิตติกรรมประกาศ 326 แหล่งข้อมูล 330 บรรณานุกรม 350 เครดิตภาพประกอบ 364 รู้จักผู้เขียน 366 รู้จักผู้แปล 367

THE SIXTH EXTINCTION An Unnatural History

.

Elizabeth Kolbert

ประวัติศาสตร์นับศูนย์ สู่การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 แปลโดย

สุนันทา วรรณสินธ์ เบล

หากจะมีภยั ใดในวิถมี นุษย์ มันไม่ได้อยูท่ กี่ ารพยายามเอาชีวติ รอดของสายพันธุ์มนุษย์ แต่เป็นภัยแห่งความต้องการบรรลุ เป้าหมายที่ราวกับตลกร้ายในวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิต นั่นคือ บัดใดที่มนุษย์เข้าถึงความเข้าใจตนเองผ่านจิต บัดนั้นชีวิตได้ สร้างหายนะให้กับสิ่งสรรค์สร้างอันงดงามที่สุดของมันเอง -- อี. โอ. วิลสัน ผ่านมาหลายต่อหลายศตวรรษ แต่เป็น ณ ปัจจุบันเท่านั้นที่ สิ่งต่างๆ วิบัติขึ้น -- ฆอร์เก ลุยส์ บอร์เกส

อารัมภบท หนึ่งนาทีก่อนเที่ยงคืน

รายชื่อสัตว์ในหนังสือเล่มนี้ได้รับการตรวจทานโดย ดร. น�ำชัย ชีววิวรรธน์ และรายชื่อพืชได้รับการตรวจทานโดย ดร. สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์

ว่ากันว่าจุดเริ่มต้นของสิ่งต่างๆ นั้นเป็นเงาเลือนราง เรื่องนี้ก็เช่น เดียวกัน มันเริ่มพร้อมกับการปรากฏตัวของสายพันธุ์ใหม่เมื่อประมาณ สองแสนปี ที่ แ ล้ ว สายพั น ธุ ์ นี้ ร วมถึ ง สิ่ ง อื่ น ๆ ทุ ก สิ่ ง ยั ง ไม่ มี ชื่ อ เรี ย ก แต่สายพันธุ์นี้มีความสามารถที่จะตั้งชื่อให้สิ่งต่างๆ เช่นเดียวกับสายพันธุ์ใหม่อื่นๆ สถานะของสายพันธุ์ดังกล่าว ล่อแหลม มันมีจ�ำนวนน้อยและจ�ำกัดถิ่นที่อยู่เพียงเสี้ยวหนึ่งของแอฟริกา ตะวันออก จ�ำนวนประชากรของมันเพิม่ ขึน้ ช้าๆ แต่เป็นไปได้วา่ หลังจากนัน้ มันจะลดจ�ำนวนลง บางคนอ้างว่าลดลงจนเกือบจะสูญพันธุ์เหลือเพียง ไม่กี่พันคู่ สมาชิกของสายพันธุ์นี้ไม่ว่องไว แข็งแรง หรือแพร่พันธุ์เร็ว เท่าใดนัก แต่พวกเขามีไหวพริบดี พวกเขาค่อยๆ เคลื่อนย้ายเข้าสู่ ดินแดนที่มีภูมิอากาศ ผู้ล่า และเหยื่อที่แตกต่างออกไป ข้อจ�ำกัดทั่วไป ทางด้านถิ่นที่อยู่หรือภูมิศาสตร์ดูเหมือนจะไม่อาจขัดขวางพวกเขาได้ พวกเขาข้ามแม่น�้ำ ที่ราบสูง และทิวเขา ในแถบชายฝั่ง พวกเขาเก็บหอย Elizabeth Kolbert

11

เป็นอาหาร ลึกเข้าไปในผืนดิน พวกเขาล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไม่ว่า พวกเขาจะตัง้ ถิน่ ฐานทีใ่ ด พวกเขาปรับตัวและสร้างสรรค์สงิ่ ใหม่ เมือ่ มาถึง ยุ โ รป พวกเขาพบสิ่ ง มี ชี วิ ต ที่ ค ล้ า ยตนมากแต่ ก� ำ ย� ำ ล�่ ำ สั น กว่ า และ อาศัยอยู่ในทวีปนั้นนานกว่ามาก พวกเขาผสมพันธุ์กับสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ แล้วพิฆาตพวกมันด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง จุดจบของความสัมพันธ์นี้จะกลายเป็นต้นแบบ เมื่อสายพันธุ์นี้ ขยายพื้นที่หากิน พวกเขาเผชิญหน้ากับสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าสองเท่า สิบเท่า หรือแม้แต่ยี่สิบเท่า แมวตัวใหญ่ หมีขนาดมหึมา เต่าตัวใหญ่ เท่าช้าง สล็อทที่สูงถึงสิบห้าฟุตเมื่อยืนสองเท้า สายพันธุ์เหล่านี้แข็งแรง กว่าและดุร้ายกว่า แต่พวกมันแพร่พันธุ์ช้าจึงสูญพันธุ์ไป แม้ว่าสายพันธุ์ของเราจะเป็นสัตว์บก แต่ด้วยความปราดเปรื่อง จึงข้ามทะเลได้ จนมาถึงหมู่เกาะที่เป็นแหล่งอาศัยของความพิสดารทาง วิวัฒนาการ เช่น นกที่ออกไข่ฟองใหญ่เป็นฟุต ฮิปโปขนาดเท่าหมู และ จิ้งเหลนยักษ์ เนื่องจากสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อยู่ตามล�ำพังจนชินเลยไม่พร้อม ที่จะรับมือกับผู้มาเยือนใหม่และเพื่อนร่วมทางของพวกเขา (ส่วนใหญ่ เป็นหนู) พวกมันจ�ำนวนมากจึงพ่ายแพ้เช่นกัน กระบวนการนี้ด�ำเนินต่อไปอย่างกระท่อนกระแท่นนานหลาย พันปี จนกระทั่งสายพันธุ์ดังกล่าวไม่ใช่สายพันธุ์ใหม่อีกต่อไป พวกเขา กระจายตัวไปทุกมุมโลก ในเวลานั้นมีหลายสิ่งเกิดขึ้นพร้อมกันซึ่งช่วยให้ โฮโมเซเปียนส์ (อันเป็นชือ่ ทีพ่ วกเขาเรียกตนเองในเวลาต่อมา) ขยายพันธุ์ ในอัตราที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ภายในศตวรรษเดียว จ�ำนวนประชากร เพิ่มเป็นสองเท่า แล้วก็เพิ่มทบอีกครั้งแล้วครั้งเล่า ป่าผืนใหญ่ถูกบุกรุก มนุษย์ท�ำเช่นนี้เพื่อหาอาหารยังชีพ แต่ผลที่ไม่ต้ังใจคือพวกเขาโยกย้าย สิ่งมีชีวิตต่างๆ ข้ามทวีป ซึ่งเท่ากับเป็นการจัดโครงสร้างทางชีวภาคใหม่ ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงที่แปลกและรุนแรงกว่าก็ก�ำลัง จะเกิดขึ้น หลังจากมนุษย์ค้นพบแหล่งพลังงานใต้ดิน พวกเขาเริ่มเปลี่ยน องค์ประกอบในชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้สภาพภูมิอากาศและคุณสมบัติ 12

T he Sixth Ex t i n c t i o n

ทางเคมีของมหาสมุทรเปลี่ยนแปลงไปด้วย พืชและสัตว์บางชนิดปรับตัว โดยการย้ายถิ่น พวกมันปีนขึ้นเขาและอพยพไปทางขั้วโลก แต่ยังมีสัตว์ อีกหลายต่อหลายชนิดที่ถูกปล่อยเกาะ เริ่มจากจ�ำนวนนับร้อย จนกลาย เป็นพันเป็นหมื่น และท้ายที่สุดอาจมากถึงหลักล้าน อัตราการสูญพันธุ์ เพิ่มสูงขึ้น องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตใดที่เปลี่ยนชีวิตบนโลกเช่นนี้มาก่อน กระนั้น โลกก็เคยเผชิญเหตุการณ์ท�ำนองนี้มาก่อนแล้ว ในอดีตอันแสนยาวนาน นานๆ ครั้ง โลกจะผ่านการเปลี่ยนแปลงที่บีบรัดเสียจนความหลากหลาย ของสิง่ มีชวี ติ ลดฮวบลง ในหมูเ่ หตุการณ์ดกึ ด�ำบรรพ์เหล่านี้ มี 5 เหตุการณ์ ที่นับเป็นหายนะใหญ่หลวงเสียจนต้องแยกประเภทออกมาแล้วให้ชื่อว่า Big Five หรือการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ 5 ครั้ง และสิ่งที่ดูเหมือนเป็นความ บังเอิญเหลือเชื่อแต่แท้ที่จริงอาจไม่ใช่ความบังเอิญเลยก็คือ ผู้คนกลับมา ขุดคุ้ยประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์เหล่านี้อีกครั้งเมื่อเริ่มตระหนักว่า พวกเขาก�ำลังก่อเหตุซ�้ำรอย ตอนนี้คงเร็วเกินไปที่จะกล่าวว่าเหตุการณ์ รอบนี้อาจรุนแรงเท่ากับการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ 5 ครั้ง อย่างไรก็ตาม มันได้ กลายเป็นที่รู้จักในนาม “การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6” (Sixth Extinction) เรื่องราวการสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 ในส่วนที่ฉันเลือกมาเล่าแบ่งเป็น 13 บท แต่ละบทติดตามสายพันธุ์ที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น มาสโตดอนหรือ ช้างดึกด�ำบรรพ์สายพันธุอ์ เมริกา นกอ็อกใหญ่ หอยแอมโมไนต์ซงึ่ สูญพันธุ์ ไปตอนสิ้นยุคครีเทเชียสพร้อมกับเหล่าไดโนเสาร์ สิ่งมีชีวิตที่ฉันกล่าวถึง ในบทแรกๆ สูญพันธุไ์ ปหมดแล้ว โดยเนือ้ หาส่วนนีจ้ ะกล่าวถึงการสูญพันธุ์ ครั้งใหญ่ๆ ในอดีต และประวัติศาสตร์อันพลิกผันในการค้นพบเรื่องราว ของพวกมัน โดยตั้งต้นจากงานของ ฌอร์ฌ กูวีเย (Georges Cuvier) นั ก ธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส ส�ำหรับ ส่วนที่ส องของหนังสือเล่มนี้ ส่ ว นใหญ่ เ กิ ด ขึ้ น ในปั จ จุ บั น ทั้ ง ในป่ า ฝนแอมะซอนที่ ก ระจายตั ว เป็นหย่อมมากขึ้นทุกที บนเทือกเขาแอนดีสซึ่งอุ่นขึ้นอย่างรวดเร็ว และ ตามขอบนอกของแนวปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟ ฉันเจาะจงที่จะไป Elizabeth Kolbert

13

เยือนสถานที่เหล่านี้ด้วยเหตุผลสามัญของสื่อมวลชน นั่นคือเนื่องจากมี สถานีวิจัยที่นั่น หรือเนื่องจากมีคนชวนให้ฉันเดินทางติดตามการส�ำรวจ การเปลี่ยนแปลงเกิดในวงกว้างเสียจนไม่ว่าฉันเดินทางไปที่ใดก็จะพบ ร่องรอยของพวกมันเสมอ โดยมีคนคอยช่วยชี้แนะอีกที มีอยู่บทหนึ่ง กล่าวถึงการสูญพันธุ์ที่อาจกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นในสวนหลังบ้านฉันเอง (และอาจเกิดขึ้นในสวนหลังบ้านคุณด้วย) ถ้าการสูญพันธุ์เป็นหัวข้อที่น่าสลด การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ (mass extinction) ยิ่งนับว่าน่าหดหู่มหาศาล แต่ขณะเดียวกันมันก็น่าทึ่งด้วย ในหน้าถัดจากนี้ ฉันจะพยายามเล่าทั้งสองแง่มุม ทั้งความน่าตื่นเต้นของ สิง่ ทีค่ น้ พบและความน่ากลัวของมัน ฉันหวังว่าผูอ้ า่ นหนังสือเล่มนีจ้ ะเข้าถึง ช่วงเวลาอันน่าอัศจรรย์ที่เราด�ำรงชีวิตอยู่ ณ ขณะนี้

14

T he Sixth Ex t i n c t i o n

1 การสูญพันธ์ุครั้งที่ 6 กบสีทองปานามา Atelopus zeteki

เมืองเอลบาเยเดอันตน (El Valle de Antón) ในปานามากลางตั้งอยู่ กลางปากปล่องภูเขาไฟซึง่ ก่อตัวขึน้ ประมาณหนึง่ ล้านปีทแี่ ล้ว ปากปล่อง ภูเขาไฟดังกล่าวกว้างเกือบสี่ไมล์ แต่เมื่อท้องฟ้าใส คุณจะเห็นแนว เทือกเขาหยักโค้งรอบเมืองราวกับก�ำแพงล้อมรอบซากหอคอย เมือง เอลบาเยมีถนนสายหลักหนึง่ สาย สถานีตำ� รวจและตลาดกลางแจ้งอย่างละ หนึ่งแห่ง นอกจากจะขายหมวกปานามาและผ้าปักสีสดหลากหลายแล้ว ตลาดแห่งนี้น่าจะเป็นแหล่งจ�ำหน่ายตุ๊กตากบสีทองที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีทั้งกบสีทองนอนบนใบไม้ กบสีทองนั่งหลังโก่ง กบสีทองถือโทรศัพท์ มือถือซึ่งยากที่จะเข้าใจ กบสีทองใส่กระโปรงระบาย กบสีทองตั้งท่า เต้นร�ำ และกบสีทองสูบบุหรีโ่ ดยใช้ทตี่ อ่ บุหรี่ เลียนแบบท่าของ แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ กบสีทองซึ่งมีสีเหลืองเหมือนรถแท็กซี่แต้มลายสีน�้ำตาลเข้ม เป็นสัตว์ประจ�ำท้องถิ่นรอบเมืองเอลบาเย และเป็นสัญลักษณ์น�ำโชค ในปานามา รูปของมันพิมพ์อยูบ่ นสลากกินแบ่ง (หรืออย่างน้อยก็เคยเป็น เช่นนั้น) Elizabeth Kolbert

17

ไม่นานนัก เพียงทศวรรษที่แล้ว กบสีทองพบง่ายในแถบเนินเขา รอบเมืองเอลบาเย กบชนิดนี้มีพิษ มีคนค�ำนวณไว้ว่าพิษที่อยู่ในผิวของ กบเพียงหนึ่งตัวฆ่าหนูขนาดกลางได้ถึงหนึ่งพันตัว มันจึงมีสีสดโดดเด่น ตัดกับพื้นป่า ล�ำธารแห่งหนึ่งไม่ไกลจากเมืองเอลบาเยได้รับสมญานาม ว่า “ธารพันกบ” ถ้าเดินไปตามล�ำธารจะเห็นกบสีทองจ�ำนวนมากอาบแดด บนชายฝั่ง ถึงขนาดผู้ศึกษาด้านสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำ คนหนึง่ ซึง่ เคยเดินเทีย่ วล�ำธารนีม้ าแล้วหลายครัง้ บอกกับฉันว่า “เหลือเชือ่ ช่างเหลือเชื่อจริงๆ” แล้วกบรอบเมืองเอลบาเยก็เริ่มหายไป มีคนพบปัญหานี้ซึ่งยัง ไม่มีใครคิดว่าจะเป็นวิกฤตครั้งแรกทางตะวันตก ใกล้ชายแดนปานามา กับคอสตาริกา นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาคนหนึง่ ศึกษากบในเขตป่าฝน แถบนัน้ อยูพ่ อดี เธอกลับไปอเมริกาช่วงหนึง่ เพือ่ เขียนวิทยานิพนธ์ เมือ่ เธอ กลับมา เธอหากบไม่พบและไม่เห็นสัตว์ครึง่ บกครึง่ น�ำ้ ชนิดอืน่ เลย เธอไม่รู้ ว่าเกิดอะไรขึ้น แต่เนื่องจากเธอต้องการกบไปท�ำวิจัย เธอจึงก�ำหนดเขต ศึกษาแห่งใหม่หา่ งออกไปทางตะวันออก ตอนแรกกบในทีใ่ หม่นดี้ แู ข็งแรงดี แต่กเ็ กิดเหตุการณ์แบบเดียวกันอีก กล่าวคือพวกสัตว์ครึง่ บกครึง่ น�ำ้ หายไป ภัยนี้แพร่ไปทั่วป่าฝนจนกระทั่งในปี 2002 กบในแถบเนินเขาและล�ำธาร รอบเมืองซานตาเฟ ห่างจากเมืองเอลบาเยไปทางตะวันตกประมาณ ห้าสิบไมล์สูญพันธุ์ไปโดยสิ้นเชิง ในปี 2004 เริ่มพบศพเล็กๆ ใกล้เมือง เอลบาเยเข้ามาอีก โดยพบรอบเมืองเอลโกเป ถึงจุดนี้ นักชีววิทยา กลุ่มหนึ่งซึ่งบ้างมาจากปานามา บ้างมาจากสหรัฐอเมริกา สรุปว่ากบ สี ท องอยู ่ ใ นภาวะอั น ตรายร้ า ยแรง พวกเขาตั ด สิ น ใจที่ จ ะพยายาม อนุ รั ก ษ์ ป ระชากรที่ เ หลื อ อยู ่ โ ดยย้ า ยกบทั้ ง สองเพศหลายสิ บ ตั ว ออก จากป่าและน�ำมาเลี้ยงในร่ม แต่อะไรก็ตามที่เข่นฆ่ากบลงมือเร็วกว่าที่ นักชีววิทยาเกรงไว้ ก่อนที่พวกเขาจะเริ่มท�ำตามแผน พวกกบก็โดนถล่ม ระลอกใหญ่

18

T he Sixth Ex t i n c t i o n

ฉันอ่านเรื่องกบแห่งเมืองเอลบาเยครั้งแรกในนิตยสารเกี่ยวกับธรรมชาติ ส�ำหรับเด็กซึ่งฉันซื้อให้ลูกๆ บทความนั้นลงภาพประกอบสี่สีเป็นรูป กบสีทองปานามาและสายพันธุ์อื่นที่มีสีสดใส พร้อมกล่าวถึงหายนะ ซึง่ แพร่กระจายไปทัว่ รวมทัง้ ความพยายามของนักชีววิทยาทีจ่ ะดักทางมัน นักชีววิทยาหวังจะสร้างห้องปฏิบัติการแห่งใหม่ในเมืองเอลบาเยแต่เสร็จ ไม่ทัน พวกเขาเร่งช่วยสัตว์มากทีส่ ดุ เท่าทีท่ ำ� ได้แม้จะไม่มที ใี่ ห้พวกมันอยู่ สุดท้ายพวกเขาท�ำอย่างไรน่ะหรือ พวกเขาเอาไปฝากไว้ “ในโรงแรมกบ แน่อยู่แล้ว!” “โรงแรมกบเหลือเชื่อ” ที่ว่านี้ให้บริการที่พักและอาหารเช้า ตามแบบท้องถิน่ โดยยินดีให้กบเข้าพัก (ในตูแ้ ทงก์) ภายในอาคารห้องเช่า “เมื่อมีนักชีววิทยาเป็นข้ารองบาท กบก็ได้ที่พักระดับหรูพร้อม บริการแม่บ้านและรูมเซอร์วิส” บทความกล่าว นอกจากนี้กบยังได้รับ อาหารสดอันโอชะ ซึ่ง “สดถึงขนาดที่อาหารกระโดดออกนอกจานได้” เพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากได้อ่านบทความเกี่ยวกับ “โรงแรม กบเหลือเชื่อ” ฉันพบบทความเกี่ยวกับกบอีกบทความหนึ่งซึ่งมีน�้ำเสียง ต่างออกไป บทความนี้ปรากฏใน รายงานการประชุมสภาวิทยาศาสตร์ แห่งชาติ (Proceedings of the National Academy of Sciences) เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำสองคน หัวข้อคือ “เราอยู่ระหว่างการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ครั้งที่ 6 หรือไม่? มุมมอง จากโลกของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำ” (Are We in the Midst of the Sixth Mass Extinction? A View from the World of Amphibians) ผู้เขียน คือ เดวิด เวก (David Wake) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-เบิร์กลีย์ และ แวนซ์ แวรเดนเบิร์ก (Vance Vredenburg) จากมหาวิทยาลัย ซานฟรานซิ ส โกสเตต พวกเขากล่ า วว่ า “เกิ ด การสู ญ พั น ธุ ์ ค รั้ ง ใหญ่ ในประวัติศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้มาแล้ว 5 ครั้ง” และบรรยาย ว่าเหตุการณ์เหล่านี้น�ำไปสู่ “การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างลึกซึ้ง” ครั้งแรกเกิดช่วงปลายยุคออร์โดวิเชียนประมาณ 450 ล้านปี ที่แล้ว เมื่อสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ยังคงถูกจ�ำกัดให้ใช้ชีวิตอยู่แต่ในน�้ำ ครั้งที่ Elizabeth Kolbert

19

เสียหายมากทีส่ ดุ เกิดขึน้ ตอนสิน้ ยุคเพอร์เมียนประมาณ 250 ล้านปีทแี่ ล้ว และเกือบล้างโลกทั้งใบ (บางคนเรียกเหตุการณ์นี้ว่า “แม่แบบแห่งการ สูญพันธุ์ครั้งใหญ่” หรือ “การตายครั้งใหญ่”) การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ล่าสุด ซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดเกิดขึ้นท้ายยุคครีเทเชียส นอกจากไดโนเสาร์แล้ว มันกวาดล้างเพลสิโอซอร์ (สัตว์เลื้อยคลานทะเล) โมซาซอร์ (กิ้งก่าทะเล) หอยแอมโมไนต์ และเทอโรซอร์ (สัตว์เลือ้ ยคลานมีปกี ) เวกและแวรเดนเบิรก์ อภิปรายว่า เมื่อพิจารณาตามอัตราการสูญพันธุ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำ เหตุการณ์หายนะที่รุนแรงพอๆ กันก�ำลังจะเกิดขึ้น บทความของพวกเขา มีรปู ประกอบเพียงรูปเดียว เป็นรูปกบทูดเหลือง (mountain yellow-legged frog) สิบกว่าตัว ทุกตัวตายแล้ว นอนหงายท้องอยู่บนโขดหิน ฉันเข้าใจว่าท�ำไมนิตยสารส�ำหรับเด็กเลือกทีจ่ ะลงภาพกบเป็นๆ แทนภาพกบตาย และฉันเข้าใจแรงผลักดันที่อยากเล่นกับเสน่ห์แบบ ในนิทานภาพของ เบียทริกซ์ พอตเตอร์ ที่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำสั่งอาหาร

20

T he Sixth Ex t i n c t i o n

จากรูมเซอร์วิสได้ แต่ในฐานะนักหนังสือพิมพ์ ฉันคิดว่านิตยสารลืมหัวใจ ส�ำคัญไป เหตุการณ์ใดก็ตามทีเ่ กิดขึน้ เพียงห้าครัง้ นับตัง้ แต่สตั ว์ทมี่ กี ระดูก สันหลังตัวแรกปรากฏกายเมื่อประมาณ 500 ล้านปีก่อนควรนับว่าเป็น เหตุการณ์ที่พบยากยิ่งนัก ถ้าให้ฉันบรรยายอย่างเฉพาะเจาะจง ความคิด ที่ว่าเหตุการณ์ท�ำนองเดียวกันครั้งที่ 6 ก�ำลังจะเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาเรา ณ บัดนี้ เป็นเรือ่ งน่าตกตะลึงมาก แน่นอนว่าเรือ่ งทีย่ งิ่ ใหญ่กว่า เลวร้ายกว่า และมีผลสืบเนื่องไกลกว่าเช่นนี้ย่อมควรบอกต่ออย่างแน่นอน ถ้าเวกและ แวรเดนเบิร์กพูดถูก พวกเราที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันไม่เพียงเป็นประจักษ์ พยานในเหตุการณ์หายากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต แต่เรายังมีส่วนก่อให้เกิดด้วย ผู้เขียนบทความทั้งสองตั้งข้อสังเกตว่า “สายพันธุ์ที่อ่อนแอสายพันธุ์หนึ่งสามารถส่งอิทธิพลต่อชะตากรรมของ มันเองและของสายพันธุ์อื่นๆ ส่วนใหญ่บนโลกโดยไม่ตั้งใจ” สองสามวัน หลังจากทีฉ่ นั อ่านบทความของเวกและแวรเดนเบิรก์ ฉันจองตัว๋ ไปปานามา ศูนย์อนุรกั ษ์พนั ธุส์ ตั ว์ครึง่ บกครึง่ น�ำ้ เมืองเอลบาเย (El Valle Amphibian Conservation Center หรือ EVACC) ตั้งอยู่บนทางดินไม่ไกลจากตลาด กลางแจ้งที่ขายตุ๊กตากบสีทอง ขนาดประมาณบ้านบนทุ่งเลี้ยงสัตว์ นอกเมือง ศูนย์ฯ อยู่ตรงมุมด้านหลังของสวนสัตว์ขนาดเล็กที่เงียบเหงา แห่งหนึ่ง ห่างจากกรงสล็อทขี้เซาไปไม่ไกล อาคารทั้งหลังเต็มไปด้วย ตู ้ แ ทงก์ ตั้ ง เรี ย งกั น ตามก� ำ แพงและซ้ อ นกั น กลางห้ อ งเหมื อ นหนั ง สื อ บนชัน้ ในห้องสมุด ตูท้ รงสูงเป็นทีอ่ ยูข่ องสายพันธุอ์ ย่างปาดลีเมอร์ (lemur tree frog) ซึ่งอาศัยอยู่ตามยอดไม้ในป่า ตู้เตี้ยๆ ใช้ส�ำหรับสายพันธุ์อย่าง กบจอมโจรหัวโต (big-headed robber frog) ซึ่งอาศัยอยู่ตามพื้นป่า ตู้กบ ตาหนามมาร์ซูเพียล (horned marsupial frog) ซึ่งจะเก็บไข่ไว้ในกระเป๋า หน้าท้องตั้งอยู่ถัดจากตู้กบหมวกเหล็ก (casque-headed frog) ซึ่งจะ วางไข่บนหลัง และอีกหลายสิบตู้เป็นตู้กบสีทองปานามาหรือ Atelopus zeteki Elizabeth Kolbert

21

กบสีทองปานามา (Atelopus zeteki)

กบสีทองมีท่าเดินนวยนาดที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งท�ำให้พวกมัน ดูเหมือนคนเมาพยายามเดินให้ตรง แข้งขาเรียวยาว จมูกยืน่ สีเหลือง และ ตาสีเข้มทีพ่ วกมันใช้มองดูโลกด้วยความระแวดระวัง ฉันคิดว่ามันดูฉลาด ถ้าการพูดเช่นนี้ไม่ท�ำให้ฉันฟังดูสมองนิ่ม ในแหล่งธรรมชาติ ตัวเมีย จะวางไข่ในแหล่งน�้ำไหลที่ตื้นๆ ขณะที่ตัวผู้เฝ้าป้องกันอาณาเขตอยู่ตาม โขดหินทีม่ หี ญ้ามอสขึน้ ใน EVACC ตูก้ บสีทองแต่ละตูม้ นี ำ�้ ไหลจากสายยาง เล็กๆ เพือ่ ให้สตั ว์แพร่พนั ธุใ์ นบรรยากาศคล้ายธารน�ำ้ ซึง่ เคยเป็นบ้านของ พวกมัน ในล�ำธารเทียมแห่งหนึ่ง ฉันเห็นไข่ใสเรียงตัวยาวเหมือนสร้อย ไข่มุก บนกระดานไวต์บอร์ดใกล้ๆ กันมีคนเขียนไว้อย่างตื่นเต้นว่ากบ “วางไข่แล้ว!” EVACC ตั้งอยู่กลางถิ่นที่อยู่อาศัยของกบสีทอง แต่ออกแบบให้ ตัดขาดจากโลกภายนอก ไม่มีอะไรผ่านเข้ามาในอาคารได้จนกว่าจะผ่าน การฆ่าเชือ้ จนหมดจด รวมทัง้ กบด้วย ซึง่ ก่อนจะเข้ามาต้องท�ำความสะอาด ด้วยสารละลายฟอกขาว มนุษย์ผู้มาเยือนต้องสวมรองเท้าพิเศษและวาง 22

T he Sixth Ex t i n c t i o n

กระเป๋า เป้ หรือเครื่องมือภาคสนามไว้ข้างนอก น�้ำทั้งหมดที่เข้าสู่ตู้กบ จะต้ อ งกรองและบ� ำ บั ด เป็ น พิ เ ศษ สถานที่ แ ห่ ง นี้ ป ิ ด ผนึ ก แน่ น หนา จึงท�ำให้รู้สึกเหมือนเรือด�ำน�้ำ หรือจะเปรียบให้เหมาะกว่านั้นคือเหมือน เรือกลางมรสุม ผู้อ�ำนวยการของ EVACC เป็นชาวปานามาชื่อ เอ็ดการ์โด กริฟฟิธ (Edgardo Griffith) กริฟฟิธสูง ไหล่กว้าง หน้ากลมและยิ้มกว้าง เขาใส่ต่างหูห่วงเงินสองข้างและมีรอยสักขนาดใหญ่เป็นรูปโครงกระดูก คางคกบนหน้าแข้งข้างซ้าย ตอนนี้เขาอายุสามสิบกลางๆ กริฟฟิธทุ่มเท ชีวิตวัยหนุ่มทั้งหมดให้กับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำในเมืองเอลบาเย และชักจูง ภรรยาชาวอเมริกันของเขาซึ่งมาที่ปานามาในฐานะอาสาสมัครหน่วย สันติภาพให้กลายเป็นคนรักกบด้วยเช่นกัน กริฟฟิธเป็นคนแรกที่สังเกต เห็นซากศพที่เริ่มปรากฏในแถบนั้น และเป็นคนจับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำ หลายร้อยตัวกับมือแล้วจองห้องในโรงแรมให้พวกมัน (พวกสัตว์ถูกย้าย ไป EVACC เมื่ออาคารสร้างเสร็จ) หากเปรียบ EVACC เป็นเรือ กริฟฟิธ ก็คือโนอาห์ แม้ว่าจะเป็นโนอาห์ที่รับหน้าที่ยาวนานเนื่องจากเขาท�ำงาน นานกว่าสีส่ บิ วัน กริฟฟิธบอกฉันว่าหัวใจส�ำคัญในงานของเขาคือท�ำความ รู้จักกบเป็นการส่วนตัว “ส�ำหรับผม แต่ละตัวมีค่าเท่ากับช้างหนึ่งตัว” เขากล่าว ครั้งแรกที่ฉันเข้าเยี่ยมชม EVACC กริฟฟิธชี้ให้ฉันดูตัวอย่าง สายพันธุท์ สี่ ญ ู พันธุแ์ ล้วในแหล่งธรรมชาติ นอกจากกบสีทองปานามาแล้ว ยังรวมถึงปาดขากางของแรบบ์ (Rabb’s fringe-limbed tree frog) ที่เพิ่งได้รับการจ�ำแนกประเภทครั้งแรกในปี 2005 ตอนที่ฉันไปเยือน EVACC เหลือปาดของแรบบ์เพียงหนึ่งตัว ดังนั้นความเป็นไปได้ที่จะ อนุรักษ์คู่สัตว์แบบโนอาห์แม้เพียงคู่เดียวได้ผ่านไปแล้ว ปาดตัวนั้น สีน�้ำตาลอมเขียว มีรอยด่างสีเหลือง ขนาดประมาณสี่นิ้ว มีเท้าใหญ่ เกินตัวซึ่งท�ำให้มันดูเก้งก้างเหมือนพวกวัยรุ่นเงอะงะ ปาดขากางของ แรบบ์อาศัยอยู่ในป่าเหนือเมืองเอลบาเยและวางไข่ในรูบนต้นไม้ มันมี Elizabeth Kolbert

23

ข้อตกลงแปลกๆ และอาจไม่มีใครเหมือนอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือปาดตัวผู้ จะเลี้ยงดูลูกอ๊อดโดยปล่อยให้มันกินหนังที่อยู่บนหลังของตัวพ่อ กริฟฟิธ กล่าวว่าเขาคิดว่าอาจมีสายพันธุ์สัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำหลายสายพันธุ์ที่ ตกส�ำรวจจากการเร่งเก็บสัตว์ของ EVACC และสูญพันธุ์ไปนับแต่นั้นมา ซึ่ ง ยากที่ จ ะบอกจ� ำ นวน เนื่ อ งจากส่ ว นใหญ่ อ าจไม่ เ ป็ น ที่ รู ้ จั ก ในวง วิทยาศาสตร์ “น่าเสียดาย” เขาบอกฉัน “ที่เราสูญเสียสัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำ เหล่านี้ก่อนที่จะรู้ว่าพวกมันมีตัวตนเสียอีก” “กระทั่ ง คนทั่ ว ไปในเมื อ งเอลบาเยยั ง สั ง เกตเห็ น ” เขากล่ า ว “พวกเขาพูดกับผมว่า ‘เกิดอะไรขึน้ กับกบ เราไม่ได้ยนิ เสียงร้องของพวกมัน อีกแล้ว’” เมื่อมีข่าวแพร่กระจายออกไปครั้งแรกว่าประชากรกบลดฮวบฮาบเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว ผู้ที่กังขามากที่สุดคือเหล่าผู้ที่มีความรู้มากที่สุดในสาขา วิชา เนื่องจากสัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำอยู่ในกลุ่มผู้อยู่รอดที่แกร่งที่สุดของโลก บรรพบุรุษของกบปัจจุบันคลานขึ้นจากน�้ำประมาณ 400 ล้านปีที่แล้ว และพอถึง 250 ล้านปีที่แล้ว ตัวแทนยุคแรกเริ่มของสัตว์ที่จะกลายเป็น อั น ดั บ สั ต ว์ ค รึ่ ง บกครึ่ ง น�้ ำ สมั ย ใหม่ ก็ วิ วั ฒ น์ ขึ้ น ซึ่ ง มี ก บและคางคก เป็นอันดับแรก อันดับที่สองคือกระท่าง (newt) กับซาลาแมนเดอร์ (salamander) และอันดับที่สามคือสิ่งมีชีวิตประหลาดไร้แขนขาที่เรียก ว่าเขียดงู (caecilian) นั่นหมายความว่าสัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำมีมานานกว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือนก พวกมันอยู่ก่อนที่จะมีไดโนเสาร์เสียอีก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำ (ภาษาอังกฤษเรียกว่า amphibian มาจาก ภาษากรีกที่แปลว่า “ชีวิตสองภาค”) ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวโยงอย่างใกล้ชิด กับอาณาจักรแหล่งน�ำ้ ทีม่ นั โผล่ขนึ้ มา (ชาวอียปิ ต์โบราณคิดว่ากบเกิดจาก การจับคูข่ องดินกับน�ำ้ ช่วงทีน่ ำ�้ ในแม่นำ�้ ไนล์ทว่ มล้นในแต่ละปี) ไข่ของมัน ซึ่งไม่มีเปลือกต้องเก็บให้ชุ่มชื้นเพื่อให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะพัฒนา เติบโต มีกบหลายชนิดทีว่ างไข่ในธารน�ำ้ เหมือนกบสีทองปานามา และยังมี 24

T he Sixth Ex t i n c t i o n

กบที่วางไข่ในแอ่งน�้ำชั่วคราว กบที่วางไข่ใต้ดิน อีกทั้งกบที่วางไข่ในรัง ซึ่งสร้างขึ้นจากน�้ำลาย นอกจากกบที่วางไข่บนหลังและกระเป๋าหน้าท้อง ยังมีกบทีพ่ นั ไข่รอบขาเหมือนผ้าพันแผล เมือ่ ไม่นานมานีม้ กี บสองสายพันธุ์ สูญพันธุไ์ ป พวกมันมีชอื่ เรียกว่าวงศ์กบพลาติพสุ (gastric-brooding frogs) ซึ่งเก็บไข่ไว้ในกระเพาะและส�ำรอกลูกกบออกมาทางปาก สั ต ว์ ค รึ่ ง บกครึ่ ง น�้ ำ ปรากฏตั ว ขึ้ น ในเวลาที่ ทุ ก ผื น ดิ น บนโลก ยั ง เชื่ อ มต่ อ เป็ น ผื น ดิ น ขนาดใหญ่ ที่ เ รี ย กกั น ว่ า มหาทวี ป แพนเจี ย (Pangaea) นับตั้งแต่แพนเจียแตกออกจากกัน พวกมันได้ปรับตัวให้ เข้ากับสภาพของทุกทวีป ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำ ทั่วโลกจ�ำแนกประเภทได้กว่าเจ็ดหมื่นสายพันธุ์ โดยจ�ำนวนมากพบใน แถบป่าฝนเขตร้อน ขณะที่บางส่วนสามารถด�ำรงชีวิตในทะเลทราย เช่น กบเนินทราย (sandhill frog) ในออสเตรเลีย และบางส่วนสามารถด�ำรง ชีวิตอยู่เหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล เช่น กบไม้ (wood frog) กบที่พบมาก ในทวีปอเมริกาเหนือหลายชนิดรวมถึงกบจ�ำศีลหน้าร้อน (spring peeper) สามารถรอดชีวิตในฤดูหนาวที่แ ข็งยะเยือกอย่างกับ ไอศกรีมแท่งได้ ประวั ติศาสตร์วิวัฒนาการอัน ยาวนานของพวกมันสื่อความหมายว่า แม้มนุษย์จะมองว่าสัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำหลายกลุ่มดูคล้ายกัน แต่เมื่อพูด ในแง่พันธุศาสตร์แล้ว พวกมันแตกต่างกันราวค้างคาวกับม้า เดวิด เวก หนึ่งในผู้เขียนบทความที่ท�ำให้ฉันต้องไปปานามานั้น อยู่ในกลุ่มที่ไม่เชื่อในตอนแรกว่าสัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำก�ำลังหายไป ตอนนั้น เป็นช่วงทศวรรษ 1980 นักศึกษาของเวกเริม่ กลับจากการเดินทางเก็บกบ ในเซียร์ราเนวาดาโดยไม่ได้อะไรกลับมา เวกจ�ำได้ว่าสมัยที่เขาเป็น นักศึกษาในช่วงทศวรรษ 1960 เป็นเรื่องยากมากที่จะหลบเลี่ยงกบใน เซียร์ราเนวาดา “เราเดินผ่านทุ่งแล้วก็เหยียบมันโดยไม่ได้ตั้งใจ” เขา บอกฉัน “มีกบทุกที่” เวกสันนิษฐานว่านักศึกษาของเขาไปผิดจุด หรือไม่ ก็ไม่รวู้ ธิ หี า แต่แล้วเมือ่ นักวิจยั หลังปริญญาเอกคนหนึง่ ซึง่ มีประสบการณ์ เก็บสัตว์เหล่านี้มาหลายปีบอกเขาว่าหาสัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำไม่เจอแม้แต่ Elizabeth Kolbert

25

ตัวเดียว “ผมก็พูดว่า ‘โอเค ผมจะไปกับคุณ และเราจะไปที่ที่พิสูจน์แล้ว ว่ามี’” เวกเล่า “จากนั้นผมก็พาเขาไปที่ที่พิสูจน์แล้วว่าเคยมีสัตว์เหล่านี้ แล้วเราก็เจอคางคกประมาณสองตัว” ส่วนหนึ่งที่ท�ำให้สถานการณ์นี้น่าฉงนคือภูมิศาสตร์ ดูเหมือน ว่ากบไม่เพียงหายตัวไปจากบริเวณที่มีประชากรมากและถูกรบกวน แต่ ยังหายไปจากธรรมชาติที่บริสุทธิ์อย่างเทือกเขาเซียร์ราและเทือกเขา ในอเมริกากลาง ตอนท้ายทศวรรษ 1980 ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านสัตว์เลือ้ ยคลาน และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำชาวอเมริกันเดินทางไปยังเขตอนุรักษ์ป่าเมฆ มอนเตเบร์เด (Monteverde Cloud Forest Reserve) ในตอนเหนือของ คอสตาริกาเพือ่ ศึกษาพฤติกรรมการขยายพันธุข์ องคางคกสีทอง (golden toad) เธอลงภาคสนามถึงสองรอบเพื่อตามหามัน ในบริเวณที่คางคกเคย ผสมพันธุจ์ นมีลกู ดิน้ กระแด่วๆ เป็นหาบๆ กลับพบคางคกตัวผูเ้ พียงตัวเดียว (คางคกสีทองซึง่ ปัจจุบนั จัดอยูใ่ นประเภทสัตว์สญ ู พันธุค์ วามจริงมีสสี ม้ สด เป็นญาติห่างๆ ของกบสีทองปานามาซึ่งตามหลักแล้วจัดว่าเป็นคางคก เนื่องจากมีต่อมคู่หนึ่งอยู่หลังดวงตา) ในช่วงเดียวกันนั้น ที่คอสตาริกา ตอนกลาง กลุ่มนักชีววิทยาสังเกตว่าประชากรของกบประจ�ำท้องถิ่น หลายสายพันธุ์ลดฮวบลง สายพันธุ์ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์มากเริ่ม หายไป รวมถึงสายพันธุ์ที่เห็นบ่อยด้วย ในเอกวาดอร์ คางคกจัมบาโต (Jambato toad) ซึ่งเคยมาเยือนสวนหลังบ้านอยู่บ่อยๆ กลับหายไปใน ช่วงเวลาเพียงไม่กปี่ ี ทางตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย อึง่ กลางวัน (southern day frog) ซึ่งเคยชุกชุมในแถบนั้น บัดนี้หาไม่พบอีกต่อไป ร่องรอยแรกซึ่งชี้ตัวผู้ฆ่าลึกลับที่พิฆาตกบนับตั้งแต่ควีนส์แลนด์ จนถึงแคลิฟอร์เนียอยู่ในสวนสัตว์แห่งหนึ่ง แม้เรื่องนี้ฟังดูน่าขัน แต่ บางทีก็อาจจะขันไม่ออก สวนสัตว์แห่งชาติในวอชิงตัน ดี.ซี. แพร่พันธุ์กบ ลูกศรพิษสีน�้ำเงิน (blue poison-dart frog) ซึ่งมีถิ่นก�ำเนิดในประเทศ ซูรินาเมส�ำเร็จหลายรุ่น แต่แล้วกบซึ่งผสมพันธุ์ในตู้ของสวนสัตว์ก็เริ่ม ล้มตายวันแล้ววันเล่า นักพยาธิวิทยาสัตว์ที่สวนสัตว์เก็บตัวอย่างจากกบ 26

T he Sixth Ex t i n c t i o n

ทีต่ ายและน�ำไปส่องกล้องจุลทรรศน์อเิ ล็กตรอน เขาพบจุลนิ ทรียบ์ นผิวกบ ซึ่งต่อมาระบุได้ว่าเป็นเห็ดราในกลุ่มที่ชื่อไคทริด (chytrid) เห็ดราไคทริดมีอยู่แทบทุกที่ พบบนยอดไม้และลึกลงไปใต้ดิน แต่ไม่เคยพบสายพันธุ์นี้มาก่อน ความจริงนี่เป็นเรื่องแปลกมากจนต้อง ตั้งสกุลใหม่ทั้งสกุลเพื่อมันโดยเฉพาะ โดยให้ชื่อว่า Batrachochytrium dendrobatidis (ค�ำว่า batrachos เป็นภาษากรีก แปลว่า “กบ”) หรือเรียก สั้นๆ ว่า Bd นักพยาธิวทิ ยาสัตว์คนนัน้ ส่งตัวอย่างจากกบทีต่ ดิ เชือ้ ในสวนสัตว์ แห่งชาติไปให้นกั วิทยาเชือ้ ราทีม่ หาวิทยาลัยเมน นักวิทยาเชือ้ ราเพาะเชือ้ เห็ดราแล้วส่งกลับมาที่วอชิงตันจ�ำนวนหนึ่ง เมื่อกบลูกศรพิษสีน�้ำเงิน ได้รับ Bd ที่เพาะในห้องปฏิบัติการ พวกมันล้มป่วยภายในสามสัปดาห์ แล้วก็ตาย การวิจัยต่อมาพบว่า Bd มีผลต่อความสามารถในการดูดซึม สารอิเล็กโทรไลต์ที่จ�ำเป็นผ่านผิวหนัง จึงเป็นผลท�ำให้พวกมันหัวใจวาย บางทีอาจเรียก EVACC ได้ว่าเป็นโครงการซึ่งอยู่ในระหว่างด�ำเนินงาน สัปดาห์ที่ฉันอยู่ที่ศูนย์ฯ ทีมอาสาสมัครจากอเมริกาอยู่ที่นั่นด้วยเพื่อช่วย จัดนิทรรศการซึ่งจะเปิดให้สาธารณชนเข้าชม ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย ของสิ่งมีชีวิต จึงต้องแยกพื้นที่จัดงานออกมาและใช้ทางเข้าต่างหาก โดยมีช่องตามก�ำแพงเพื่อติดตู้กระจก และรอบช่องเหล่านั้นมีภาพวาด ทิวทัศน์ภูเขาเหมือนกับภาพที่คุณจะเห็นถ้าออกไปข้างนอกแล้วเงยหน้า ขึ้นมองเนินเขา จุดเด่นของนิทรรศการคือตู้ขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วย กบสีทองปานามา เหล่าอาสาสมัครพยายามสร้างน�้ำตกสูงสามฟุตที่ท�ำ จากคอนกรีตให้พวกมัน แต่มปี ญ ั หากับระบบปัม๊ น�ำ้ และยากทีจ่ ะหาอะไหล่ ในหุบเขาที่ไม่มีร้านขายเครื่องมือและอุปกรณ์ช่าง ดูเหมือนอาสาสมัคร ต้องเสียเวลาเตร็ดเตร่และเฝ้ารอไปมากทีเดียว ฉั น ใช้ เ วลาไม่ น ้ อ ยเตร็ ด เตร่ กั บ พวกเขา อาสาสมั ค รทุ ก คน เป็นคนรักกบเช่นเดียวกับกริฟฟิธ ฉันทราบมาว่าหลายคนเคยเป็นผู้ดูแล Elizabeth Kolbert

27

สวนสัตว์และท�ำงานกับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำในสหรัฐอเมริกา (คนหนึ่งบอก ฉันว่ากบท�ำให้ชีวิตแต่งงานของเขาล้มเหลว) ฉันซาบซึ้งกับความทุ่มเท ของทีมงาน ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นแบบเดียวกับการน�ำกบเข้า “โรงแรมกบ” รวมถึงก่อตั้งและด�ำเนินโครงการ EVACC แม้ว่าจะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่ฉนั ยังอดรูส้ กึ ไม่ได้วา่ ภาพวาดเนินเขาสีเขียวและน�ำ้ ตกปลอมดูนา่ หดหู่ แทบไม่มกี บหลงเหลืออยูใ่ นป่ารอบเมืองเอลบาเยเลย ซึง่ เป็นการ พิสูจน์อย่างชัดเจนว่าจ�ำเป็นจะต้องน�ำสัตว์เข้ามาใน EVACC แต่ยิ่งกบ อยู่ในศูนย์ฯ นานเท่าใดก็ยิ่งยากที่จะอธิบายว่าพวกมันมาท�ำอะไรที่นั่น ทว่าสุดท้ายกลายเป็นว่าเห็ดราไคทริดไม่ต้องอาศัยสัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำ เพือ่ ด�ำรงชีพ นัน่ หมายความว่าหลังจากทีม่ นั กวาดล้างกบในพืน้ ทีจ่ นหมด มันก็จะยังอยูต่ อ่ ไปตามวิถชี วี ติ ของเห็ดราไคทริด ดังนัน้ หากปล่อยกบสีทอง จาก EVACC กลับเข้าเนินเขารอบเมืองเอลบาเย พวกมันจะป่วยและ ล้มตาย (แม้จะใช้สารฟอกขาวท�ำลายเห็ดราได้ แต่เป็นไปไม่ได้ที่จะฆ่า เชื้อโรคในป่าฝนทั้งป่าแน่นอน) ทุกคนที่ฉันคุยด้วยที่ EVACC บอกว่า เป้าหมายของศูนย์ฯ คือเก็บรักษาสัตว์ไว้จนกว่าจะปล่อยให้พวกมัน แพร่พันธุ์ในป่าได้ ซึ่งทุกคนยอมรับว่านึกไม่ออกว่าจะท�ำได้อย่างไร “เราต้องหวังว่ามันจะเกิดขึ้นได้ทางใดทางหนึ่ง” พอล ครัมป์ (Paul Crump) ผู้เชี่ยวชาญสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำจาก สวนสัตว์ฮิวสตันและเป็นผู้ดูแลโครงการสร้างน�้ำตกบอกฉันว่า “เราต้อง หวังว่าบางอย่างจะเกิดขึ้น และเราจะสามารถปะติดปะต่อทุกอย่างได้ แล้วท�ำให้ทงั้ หมดกลับไปเป็นเหมือนเดิม ซึง่ พอผมพูดออกมาอย่างนีแ้ ล้ว ฟังดูโง่ๆ ชอบกล” “สิ่งที่ส�ำคัญคือการน�ำพวกมันกลับที่เดิม ซึ่งผมเห็นว่าเป็นเรื่อง เพ้อฝันมากขึ้นทุกที” กริฟฟิธกล่าว เมื่อไคทริดพัดผ่านเมืองเอลบาเยแล้ว มันไม่หยุดแค่นั้น มัน เดินทางต่อไปทางตะวันออก ยิ่งกว่านั้นมันยังเข้าสู่ปานามาจากทิศทาง ตรงกั น ข้ า มโดยเคลื่ อ นมาจากโคลอมเบี ย Bd แพร่ ไ ปทั่ ว ที่ ร าบสู ง 28

T he Sixth Ex t i n c t i o n

ในแอฟริกาใต้และลงไปตามชายฝัง่ ตะวันออกของออสเตรเลีย ก่อนจะข้าม เข้าสู่นิวซีแลนด์และแทสเมเนีย มันวิ่งผ่านแคริบเบียน จากนั้นก็เจอที่ อิตาลี สเปน สวิตเซอร์แลนด์ และฝรัง่ เศส ส่วนในสหรัฐอเมริกา ดูเหมือนว่า มันแผ่รงั สีจากหลายจุด ไม่ได้ซดั สาดเหมือนคลืน่ เสียทีเดียว แต่กระเพือ่ ม มาเป็นระลอกมากกว่า ณ จุดนี้ดูเหมือนว่าไม่มีใครหยุดมันได้ เช่นเดียวกับที่วิศวกรควบคุมเสียงพูดถึง “เสียงพื้นฐาน” (background noise) นั ก ชี ว วิ ท ยาเองก็ พู ด ถึ ง “การสู ญ พั น ธุ ์ ป กติ ” (background extinction) ในช่วงเวลาทั่วๆ ไปซึ่งในที่นี้หมายถึงยุคสมัยทางธรณีวิทยา การสูญพันธุ์แทบไม่เกิดขึ้นเลย น้อยกว่าการเกิดสายพันธุ์ใหม่เสียอีก และมันเกิดขึ้นในอัตราที่เรียกว่าอัตราการสูญพันธุ์ปกติ อัตราดังกล่าวนี้ แตกต่างกันไปตามกลุ่มสิ่งมีชีวิต และมักใช้ในรูปการสูญพันธุ์ต่อล้าน ปีสายพันธุ์ (million species-years) การค�ำนวณอัตราการสูญพันธุ์ปกติ เป็นงานทีใ่ ช้ความวิรยิ อุตสาหะอย่างมาก เพราะต้องตรวจดูขอ้ มูลฟอสซิล จากหลายฐานข้อมูล กลุ่มที่อาจเป็นกลุ่มศึกษาที่ดีที่สุดคือสัตว์เลี้ยงลูก ด้ ว ยนม โดยคาดว่ า ตั ว เลขอยู ่ ที่ ป ระมาณ 0.25 ต่ อ ล้ า นปี ส ายพั น ธุ ์ นั่ น หมายความว่ า เนื่ อ งจากมี สั ต ว์ เ ลี้ ย งลู ก ด้ ว ยนมประมาณ 5,500 สายพันธุ์ในปัจจุบัน หากค�ำนวณตามอัตราการสูญพันธุ์ปกติ คาดว่า โดยคร่าวๆ 1 สายพันธุ์จะหายไปทุกๆ 700 ปี การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ต่างออกไป แทนที่จะเป็นเสียงร้องคลอ ประกอบฉาก มันกลับกลายเป็นการพังครืน อัตราการสูญหายพุ่งขึ้น อย่างรวดเร็ว แอนโธนี ฮัลลัม (Anthony Hallam) และ พอล วิกนอลล์ (Paul Wignall) นักบรรพชีวินวิทยาชาวอังกฤษผู้เขียนเกี่ยวกับหัวข้อนี้ อย่างครอบคลุม ให้ค�ำจ�ำกัดความการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ว่าเป็นเหตุการณ์ ที่ก�ำจัด “ชีวชาติ (biota) ของโลกในสัดส่วนที่มีนัยส�ำคัญในระยะเวลาที่ ไม่มีนัยส�ำคัญเชิงธรณีวิทยา” ผู้เชี่ยวชาญอีกคนหนึ่ง เดวิด ยับลอนสกี (David Jablonski) บอกลั ก ษณะของการสู ญ พั น ธุ ์ ค รั้ ง ใหญ่ ว ่ า เป็ น Elizabeth Kolbert

29

“การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพครั้งใหญ่” ซึ่งเกิดขึ้นอย่าง รวดเร็วและ “ครอบคลุมทั่วโลก” ไมเคิล เบนตัน (Michael Benton) นักบรรพชีวินวิทยาผู้ศึกษาการสูญพันธุ์ช่วงสิ้นยุคเพอร์เมียนกล่าวถึง ต้นไม้แห่งชีวิตในเชิงเปรียบเทียบว่า “ระหว่างการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ต้นไม้มากมายถูกตัดเหี้ยนเตียน ราวกับมีคนบ้าแกว่งขวานฟาดฟัน” นักบรรพชีวินวิทยาคนที่ห้า เดวิด เราป์ (David Raup) พยายามมองจาก มุมมองของเหยื่อ และกล่าวว่า “ในเวลาส่วนใหญ่สายพันธุ์ต่างๆ มีความ เสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ต�่ำ” แต่ “สภาวะที่ค่อนข้างปลอดภัยเช่นนี้ถูกคั่นด้วย ช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงสูงกว่าเดิมมาก” ประวัติศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต จึ ง ประกอบด้ ว ย “ระยะเวลาที่ น ่ า เบื่ อ ยาวนาน แทรกกลางด้ ว ยช่ ว ง ตื่นตระหนกเป็นครั้งคราว”

การสูญพันธุค์ รัง้ ใหญ่หา้ ครัง้ โดยพิจารณาจากหลักฐานฟอสซิลสัตว์นำ�้ การสูญพันธุท์ งั้ ห้าครัง้ ส่งผลให้ความหลากหลายในระดับตระกูล (family) ลดลงอย่างรวดเร็ว หากเพียงสายพันธุห์ นึง่ จากตระกูลหนึ่งรอดได้ นับว่าตระกูลนั้นรอด ดังนั้นถ้าพิจารณาในระดับสายพันธุ์ (species) ความเสียหายนั้นยิ่งใหญ่กว่ามาก 30

T he Sixth Ex t i n c t i o n

ในช่วงตื่นตระหนก สิ่งมีชีวิตที่เคยโดดเด่นทั้งกลุ่มอาจหายไป หรือลดขัน้ กลายเป็นตัวรอง คล้ายกับว่าโลกเปลีย่ นตัวผูแ้ สดง ความเสียหาย เหมาล�ำเช่นนีช้ นี้ ำ� ให้นกั บรรพชีวนิ วิทยาสันนิษฐานว่า ระหว่างเหตุการณ์ การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ (นอกจากเหตุการณ์ที่เรียกว่าการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ห้าครั้งแล้ว ยังมีเหตุการณ์ย่อยหลายเหตุการณ์) กฎการเอาตัวรอด โดยทั่วไปจะถูกระงับ สถานการณ์เปลี่ยนแปลงมากหรือเร็วมาก (หรือ เปลี่ยนมาก และ เร็วมาก) จนประวัติศาสตร์วิวัฒนาการแทบไม่ช่วยอะไร แท้จริงแล้ว คุณสมบัติอันเป็นประโยชน์ที่จะช่วยรับมือกับภัยคุกคาม อาจกลายเป็ น คุ ณ สมบั ติ อั น เป็ น อั น ตรายถึ ง ชี วิ ต ในสถานการณ์ ที่ ไม่ธรรมดาเช่นนี้ ยั ง ไม่ มี ก ารค� ำ นวณอั ต ราการสู ญ พั น ธุ ์ ป กติ ข องสั ต ว์ ค รึ่ ง บก ครึ่งน�้ำออกมาอย่างชัดเจน ส่วนหนึ่งเนื่องจากแทบไม่พบฟอสซิลสัตว์ ครึ่งบกครึ่งน�้ำ แต่ที่แน่นอนคืออัตราที่ว่านี้ต�่ำกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำหนึ่งสายพันธุ์อาจสูญพันธุ์ทุกพันปีหรือนานกว่านั้น โดยสายพันธุ์นั้นอาจมาจากแอฟริกา หรือเอเชีย หรือออสเตรเลียก็ได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ แต้มต่อของการที่คนคนหนึ่งจะได้เห็นเหตุการณ์ เช่นนี้ควรเท่ากับศูนย์ แต่กริฟฟิธเคยเห็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำสูญพันธุ์แล้ว หลายสายพันธุ์ ผู้ศึกษาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำที่ท�ำงาน ภาคสนามเกือบทุกคนล้วนเห็นมาแล้วหลายครั้ง (แม้แต่ฉันเอง ในช่วงที่ ค้นคว้าเพื่อเขียนหนังสือเล่มนี้ ฉันพบว่ามีสายพันธุ์หนึ่งสูญพันธุ์ไป และ อี ก สามหรื อ สี่ ส ายพั น ธุ ์ ที่ ต อนนี้ สู ญ พั น ธุ ์ จ ากแหล่ ง ธรรมชาติ ไ ปแล้ ว เช่ น เดี ย วกั บ กบสี ท องปานามา) “ผมอยากท� ำ งานด้ า นการศึ ก ษา สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำเพราะผมชอบท�ำงานกับสัตว์” โจเซฟ เมนเดลสัน (Joseph Mendelson) ผู้เชี่ยวชาญสัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำที่สวนสัตว์แอตแลนตาเขียนว่า “ผมไม่เคยคาด เลยว่ามันจะคล้ายคลึงกับบรรพชีวินวิทยาไปเสียได้” ปัจจุบัน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำโดดเด่นอย่างไม่สู้ดีนักโดยครอง Elizabeth Kolbert

31

ต�ำแหน่งสัตว์ประเภทที่ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดในโลก ค�ำนวณว่าอัตราการ สูญพันธุ์ของกลุ่มนี้อาจสูงกว่าปกติถึง 45,000 เท่า แต่อัตราการสูญพันธุ์ ในกลุ่มอื่นก็ก�ำลังตีคู่ไล่ขึ้นมา คาดว่าหนึ่งในสามของปะการังที่สร้าง แนวปะการังทั้งหมด หนึ่งในสามของหอยน�้ำจืดทั้งหมด หนึ่งในสามของ ปลาฉลามและปลากระเบน หนึ่งในสี่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด หนึ่งในห้าของสัตว์เลื้อยคลานทั้งหมด และหนึ่งในหกของนกทั้งหมด ก�ำลังมุง่ หน้าสูจ่ ดุ อวสาน การสูญเสียเกิดขึน้ ทัว่ โลก ในมหาสมุทรแปซิฟกิ ตอนใต้และแปซิฟิกตอนเหนือ ในเขตอาร์กติกและเขตซาเฮลในแอฟริกา ในทะเลสาบและบนเกาะ บนยอดเขาและในหุบเขา ถ้าคุณรู้วิธีมองหา คุณอาจพบร่องรอยของเหตุการณ์การสูญพันธุ์ที่ก�ำลังเกิดขึ้นในสวน หลังบ้านของคุณเอง มีหลากหลายเหตุผลที่น่าสลดว่าท�ำไมสายพันธุ์ต่างๆ หายไป แต่ถ้าตามรอยกระบวนการที่เกิดขึ้นไปไกลเพียงพอ ตัวการเดิมย่อมหนี ไม่พ้น “สายพันธุ์อ่อนแอสายพันธุ์นั้น” Bd เคลื่อนที่ได้ด้วยตัวของมันเอง เห็ดราดังกล่าวสร้างสปอร์ ขนาดจิ๋วที่มีหางเรียวยาว พวกมันแหวกว่ายในน�้ำและสายน�้ำอาจพัดพา ไปไกล หรือเอ่อล้นขึ้นมาหลังพายุฝน (เป็นไปได้ว่าการกระจายเช่นนี้ ปรากฏในปานามาในรูปแบบของหายนะที่เคลื่อนตัวไปทางตะวันออก) แต่การเคลื่อนที่ดังกล่าวไม่สามารถอธิบายการเกิดเห็ดราชนิดนี้ในพื้นที่ ห่างไกลของโลกหลายแห่งพร้อมๆ กันได้ ทั้งในอเมริกากลาง อเมริกาใต้ อเมริกาเหนือ และออสเตรเลีย ทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า Bd เดินทางรอบโลก พร้อมกับการขนส่งกบน�้ำแอฟริกา (African clawed frog) ซึ่งใช้ทดสอบ การตั้งครรภ์ในยุค 1950 และ 1960 (เมื่อฉีดปัสสาวะของหญิงที่ตั้งครรภ์ ให้กบน�ำ้ แอฟริกาตัวเมีย มันจะวางไข่ภายในไม่กชี่ วั่ โมง) เป็นเรือ่ งชวนคิด เพราะดูเหมือน Bd จะไม่มีผลร้ายแรงต่อกบน�้ำแอฟริกาแม้ว่าพวกมัน จะติดเชื้อเป็นวงกว้าง ทฤษฎีที่สองกล่าวว่าเห็ดราชนิดนี้มาจากกบ อเมริกาเหนือ (North American bullfrog) พวกมันเข้าสู่ยุโรป เอเชีย และ 32

T he Sixth Ex t i n c t i o n

อเมริกาใต้ ซึ่งบางครั้งอาจมาโดยบังเอิญ และบางครั้งอาจมาโดยตั้งใจ พวกมั น ส่ ว นใหญ่ ถู ก ส่ ง ออกเพื่ อ การบริ โ ภคของมนุ ษ ย์ กบจาก อเมริกาเหนือเองก็ติดเชื้อ Bd อย่างแพร่หลาย แต่ดูเหมือนว่า Bd จะท�ำ อะไรพวกมันไม่ได้เช่นกัน ทฤษฎีแรกเป็นที่รู้จักในชื่อ “มาจากแอฟริกา” และทฤษฎีที่สองอาจเรียกได้ว่าสมมติฐาน “ซุปขากบ” อย่ า งไรก็ ดี สมุ ฏ ฐานวิ ท ยาของโรคในสองกรณี นี้ เ หมื อ นกั น ถ้าไม่มีคนขนขึ้นเรือหรือเครื่องบิน คงเป็นไปไม่ได้ที่กบซึ่งเป็นพาหะน�ำ Bd จะเดินทางจากแอฟริกาไปออสเตรเลีย หรือจากอเมริกาเหนือไปยุโรป การเคลื่อนย้ายข้ามประเทศซึ่งในปัจจุบันเราเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา อาจเป็นเรือ่ งทีไ่ ม่เคยเกิดมาก่อนในประวัตศิ าสตร์ของสิง่ มีชวี ติ ร่วม 3,500 ล้านปี แม้ว่า Bd พัดผ่านพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศปานามาแล้ว แต่กริฟฟิธ ยังออกไปเก็บสัตว์สำ� หรับ EVACC และคอยมองหาผูร้ อดชีวติ เป็นครัง้ คราว ฉันจัดตารางให้ชว่ งทีฉ่ นั ไปเยือนตรงกับการเดินทางเก็บสัตว์ เย็นวันหนึง่ ฉันไปกับเขาและอาสาสมัครชาวอเมริกันสองคนที่สร้างน�้ำตกเทียม เรา มุ่งหน้าไปทางตะวันออก ผ่านคลองปานามา และค้างคืนในบริเวณที่ เรียกว่าเซร์โรอาซูล (Cerro Azul) ในเกสต์เฮาส์ที่รายล้อมด้วยรั้วเหล็กสูง แปดฟุต พอรุ่งสาง เราขับรถไปยังสถานีหน่วยพิทักษ์อุทยานตรงทางเข้า อุทยานแห่งชาติชาเกรส (Chagres National Park) กริฟฟิธหวังว่าจะพบ เพศเมียของสองสายพันธุ์ที่ EVACC มีน้อย เขาควักใบอนุญาตเก็บสัตว์ ของทางรัฐบาลออกมาแสดงกับเจ้าหน้าที่เฝ้าสถานีผู้งัวเงีย หมาหิวโซ จ�ำนวนหนึ่งออกมาดมรอบรถบรรทุก หลังผ่านสถานีหน่วยพิทกั ษ์ ถนนกลายเป็นหลุมบ่อทีเ่ ชือ่ มต่อกัน ด้วยร่องแคบๆ กริฟฟิธเปิดเพลงของ จิมมี เฮนดริกซ์ ในรถ และตัวเรา ก็กระเด้งกระดอนตุบๆ เข้าจังหวะ การจับกบต้องใช้อุปกรณ์มาก กริฟฟิธ จึงจ้างผู้ชายอีกสองคนมาช่วยขนของ พวกเขาปรากฏตัวออกมาจาก Elizabeth Kolbert

33

สายหมอกหลังบ้านกลุ่มสุดท้ายในหมู่บ้านขนาดจิ๋วของลอสแอนเจลิส เรากระเด้งกระดอนกันจนรถแล่นต่อไปไม่ได้อีก จึงต้องลงจากรถแล้วเริ่ม ออกเดิน ทางเดินพอกโคลนแดงคดเคีย้ วเข้าสูป่ า่ ฝน ทุกๆ สองสามร้อยหลา จะมีทางเดินแคบๆ ตัดผ่านทางเดินหลัก ทางเหล่านี้สร้างโดยมดตัดใบไม้ (leaf-cutter ant) ซึ่ ง ขนใบไม้ สี เ ขี ย วกลั บ ไปยั ง รั ง ของตนเป็ น ล้ า น หรือแม้กระทั่งพันล้านเที่ยว (รังซึ่งดูเหมือนกองขี้เลื่อยอาจปกคลุมพื้นที่ ขนาดเท่าสวนสาธารณะของเมือง) ชายชาวอเมริกันคนหนึ่งชื่อ คริส เบดนาร์สกี (Chris Bednarski) จากสวนสัตว์ฮวิ สตันเตือนฉันให้คอยระวัง มดทหารซึ่งจะทิ้งเขี้ยวไว้บนผิวหนังแม้ว่าพวกมันจะตายแล้ว “พวกมัน เล่นงานคุณแน่” เขากล่าว คนอเมริกนั อีกคนหนึง่ ชือ่ จอห์น ชาสเทน (John Chastain) มาจากสวนสัตว์โทเลโด ถือตะขอด้ามยาวใช้สู้งูพิษ “โชคดีที่ งูท่ีเอาเรื่องหนักจริงๆ ค่อนข้างหายาก” เบดนาร์สกีพูดให้ฉันหายกังวล ลิงฮาวเลอร์ (howler monkey) กรีดร้องจากที่ไกล กริฟฟิธชี้ให้ดูรอยเท้า เสือจากัวร์บนพื้นนิ่มๆ เวลาผ่า นไปประมาณหนึ่งชั่ว โมง เรามาถึงบ้านไร่แห่งหนึ่ง ซึ่งสร้างจากไม้แกะสลัก มีข้าวโพดปลูกระเกะระกะ แต่ไม่มีใครอยู่แถวนั้น และบอกไม่ได้ว่าเจ้าของไร่ล้มเลิกเพราะยอมแพ้ดินคุณภาพต�่ำในป่าฝน หรือวันนีเ้ ขาแค่ไม่อยูท่ ไี่ ร่ นกแก้วสีเขียวมรกตฝูงหนึง่ บินกรูขนึ้ ฟ้า จากนัน้ อีกหลายชั่วโมง เราโผล่ออกมาตรงที่โล่งขนาดเล็ก ผีเสื้อมอร์โฟสีฟ้า (blue morpho butterfly) ตัวหนึ่งกระพือปีกบินผ่านไป ปีกของมันสีเดียว กับท้องฟ้า ทีน่ นั่ มีกระท่อมขนาดเล็ก แต่ผพุ งั เสียจนทุกคนเลือกทีจ่ ะนอน ข้างนอก กริฟฟิธช่วยฉันผูกเตียงซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างเต็นท์กับเปลที่ ต้องแขวนระหว่างต้นไม้สองต้น รอยแหวกด้านล่างคือทางเข้า ส่วนด้านบน ใช้กันฝนที่อย่างไรก็ต้องเจอ เมื่อฉันปีนเข้าไปข้างใน ฉันรู้สึกราวกับนอน ในโลงศพ เย็ น วั น นั้ น กริ ฟ ฟิ ธ หุ ง ข้ า วบนเตาแก๊ ส ปิ ก นิ ก หลั ง จากนั้ น 34

T he Sixth Ex t i n c t i o n

เราติ ด ไฟฉายที่ ห มวกแล้ ว ตะเกี ย กตะกายลงไปในล� ำ ธารที่ อ ยู ่ ใ กล้ ๆ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำหลายประเภทหากินกลางคืน และวิธีเดียวที่จะเจอ พวกมันคือมองหาในความมืด ซึง่ ฟังดูยากและก็ทำ� ได้ยากจริงๆ ฉันลืน่ บ่อย และละเมิดกฎความปลอดภัยในป่าฝนข้อแรก นัน่ คือห้ามคว้าอะไรถ้าไม่รวู้ า่ มันคือสิง่ ใด ครัง้ หนึง่ หลังจากฉันล้ม เบดนาร์สกีชใี้ ห้ฉนั ดูแมงมุมทารันทูลา (tarantula) ขนาดเท่าก�ำปั้นบนต้นไม้ที่อยู่ถัดไป พรานที่มีประสบการณ์สามารถหากบตอนกลางคืนโดยฉายไฟ เข้าไปในป่าแล้วมองหาแสงสะท้อนจากตาของพวกมัน สัตว์ครึง่ บกครึง่ น�ำ้ ที่กริฟฟิธเห็นตัวแรกคือกบลายจุดซานโฆเซ (San Jose Cochran frog) เกาะอยู่บนใบไม้ กบลายจุดซานโฆเซอยู่ในตระกูลใหญ่กว่าที่ชื่อว่า “กบแก้ว” ซึ่งเรียกเช่นนั้นเพราะมันมีผิวหนังที่โปร่งแสงจนท�ำให้เห็น รูปร่างของอวัยวะภายใน กบแก้วตัวนีม้ สี เี ขียวและจุดเล็กสีเหลือง กริฟฟิธ ดึงถุงมือผ่าตัดคูห่ นึง่ ออกจากกระเป๋า เขายืนนิง่ งันแล้วกระโจนเข้าตะครุบ กบด้วยท่วงท่าเยี่ยงนกกระยาง อีกมือหนึ่งหยิบอะไรที่ดูเหมือนก้านส�ำลี ออกมาป้ายท้องกบ เขาเก็บก้านส�ำลีในขวดพลาสติกขนาดเล็ก ซึ่งจะ ส่งไปวิเคราะห์หา Bd ในห้องปฏิบัติการ และเนื่องจากมันไม่ใช่สายพันธุ์ ที่เขาก�ำลังมองหา เขาจึงวางกบกลับคืนบนใบไม้แล้วหยิบกล้องถ่ายรูป ออกมา เจ้ากบจ้องกลับหน้ากล้องอย่างไม่ทุกข์ร้อน เราคล�ำทางในความมืดต่อไป มีคนเห็นกบจอมโจรลาโลมา (La Loma robber frog) สีแดงส้มเหมือนพื้นป่า อีกคนเห็นกบวาร์ซวิทช์ (Warzewitsch frog) ซึ่งมีสีเขียวและรูปร่างเหมือนใบไม้ กริฟฟิธท�ำแบบ เดียวกันกับสัตว์ทกุ ตัว คว้ามันขึน้ มา ป้ายท้อง และถ่ายรูป ท้ายสุดเราพบ กบจอมโจรปานามา (Panamanian robber frog) คู่หนึ่งขี่กันอยู่ซึ่งเป็นวิธี มีเพศสัมพันธ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำ กริฟฟิธปล่อยกบคู่นี้ไว้เช่นนั้น สัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำประเภทหนึ่งที่กริฟฟิธหวังว่าจะจับได้คือ กบตาหนามมาร์ซูเพียลซึ่งมีเสียงร้องเป็นเอกลักษณ์คล้ายเสียงเปิดขวด แชมเปญ เราเดินลุยน�้ำต่อไปกลางล�ำธาร ขณะนั้นเอง เราได้ยินเสียง Elizabeth Kolbert

35

ซึ่ ง ดู เ หมื อ นดั ง จากหลายทิ ศ ทางพร้ อ มกั น ตอนแรกเสี ย งเหมื อ นอยู ่ ใกล้ๆ แต่เมื่อเราขยับเข้าหากลับฟังเหมือนไกลออกไป กริฟฟิธเริ่ม เลียนเสียงเปิดขวดด้วยริมฝีปาก ท้ายที่สุด เขาเห็นว่าพวกเราย�่ำน�้ำ เสียงดังจนกบตื่นกลัว เขาจึงลุยน�้ำไปข้างหน้าเอง ส่วนพวกเราก็ยืนรอ ในน�ำ้ ทีส่ งู ถึงเข่าอยูน่ าน พยายามไม่ขยับตัว ในทีส่ ดุ กริฟฟิธก็สง่ สัญญาณ ให้เราเข้าไปหา เราพบเขายืนอยู่หน้ากบสีเหลืองตัวโต เล็บยาว และหน้า เหมือนนกฮูก มันนัง่ อยูบ่ นกิง่ ไม้เหนือระดับสายตาเพียงเล็กน้อย กริฟฟิธ ก�ำลังมองหากบตาหนามมาร์ซูเพียลตัวเมียเพื่อเติมคลัง EVACC เขา ยื่นมือไปคว้ากบและจับมันพลิกขึ้น ตรงที่ควรจะเป็นกระเป๋าหน้าท้อง ของกบตาหนามมาร์ซเู พียลตัวเมีย เจ้าตัวนีก้ ลับไม่มี กริฟฟิธป้ายท้องกบ ถ่ายรูป และวางมันคืนบนต้นไม้ “แกนี่หล่อไม่เบา” เขาพึมพ�ำกับกบ ประมาณเที่ยงคืน เรามุ่งหน้ากลับค่าย สัตว์ที่กริฟฟิธตัดสินใจ น�ำกลับมาด้วยมีเพียงกบลูกศรพิษท้องสีนำ�้ เงิน (blue-bellied poison frog) ตัวจิ๋วสองตัวและซาลาแมนเดอร์เผือกหนึ่งตัว ซึ่งเขาและชาวอเมริกัน อีกสองคนไม่สามารถระบุสายพันธุ์ได้ กบและซาลาแมนเดอร์อยู่ในถุง พลาสติกพร้อมใบไม้เพื่อรักษาความชื้น ฉันฉุกคิดได้ว่ากบสองตัวนี้และ ลูกหลานของมัน (หากมี) กับทายาทรุ่นต่อมา (หากมี) จะไม่มีวันได้สัมผัส พื้นป่าฝนอีกเลย แต่จะใช้ชีวิตในตู้กระจกฆ่าเชื้อจนสิ้นอายุขัย คืนนั้น ฝนตกหนัก และในโลงศพทีเ่ หมือนเปลของฉัน ฉันฝันร้ายติดตา ภาพเดียว ที่ฉันจ�ำได้หลังจากนั้นคือภาพกบสีเหลืองสดสูบบุหรี่ผ่านที่คีบ

36

T he Sixth Ex t i n c t i o n

View more...

Comments

Copyright ©2017 KUPDF Inc.
SUPPORT KUPDF