Thai-style Democracy and Western-style Democracy.pdf

September 27, 2017 | Author: Anonymous nJZUT5SPM4 | Category: N/A
Share Embed Donate


Short Description

Download Thai-style Democracy and Western-style Democracy.pdf...

Description

ประชาธิปไตยแบบไทยๆ และประชาธิปไตยแบบสากล

โดย ว่าที่ร้อยตรี ดร.ไพศาล บรรจุสุวรรณ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ข้อเขียนนี้เป็นส่วนหนึ่งจากรายงานการวิจัยในชั้นเรียนฉบับสมบูรณ์ เรื่อง รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ในการยกระดับความรูส้ ู่ความเข้าใจการเมืองและประชาธิปไตยในเชิงเปรียบเทียบ งานวิจัยงานวิจัยดังกล่าวได้รับทุนสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนตามการจัด การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ปีการศึกษา 2559

ดร.ไพศาล บรรจุสุวรรณ์

2

ประชาธิปไตยแบบไทยๆ และประชาธิปไตยแบบสากล 1. ทฤษฎีเกี่ยวกับการเมืองและประชาธิปไตย ธรรมเนียมทางความคิดแบบประชาธิปไตยนั้นมีความเก่าแก่กว่าแนวคิดทุกแนวคิดทางการเมืองในแง่ ที่ว่าแนวคิดดังกล่าวมีรากฐานสืบย้อนกลับไปได้ไกลถึงสมัยนครรัฐของกรีกโบราณ ที่มีชื่อเสียงที่สุดก็คือนครรัฐ เอเธนส์นั่นเอง ถ้าจะว่าตามมาตรฐานของยุคปัจจุบัน ประชาธิปไตยแบบเอเธนส์นั้น ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องถือว่ายัง มีข้อบกพร่องอยู่ไม่น้อย เพราะเหตุว่าไม่ได้รับรวมเอาผู้หญิงว่าเป็นพลเมือง อีกทั้งระบบเศรษฐกิจก็ยังอาศัย ระบบทาสเป็นฐานอีกด้วย การเข้าใจว่าประชาธิปไตยแบบโบราณดังกล่าวเป็นสิ่งเลิศเลอ จึงออกจะดูเป็น ความคิดที่ผิดพลาดไปอย่างถนัดทีเดียว ยิ่งกว่านั้น ด้วยขนาดที่เล็กของนครรัฐในยุคโบราณ ทาให้เห็นชัดถึง ข้อจากัดที่จะนามาเป็นตัวแบบของการคิดถึงประชาธิปไตยในโลกสมัยใหม่ อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าจะมีข้อควร ระวังดังกล่าวนี้ ประชาธิปไตยของเอเธนส์ก็ต้องนับว่าเป็นประชาธิปไตยอย่างเห็น ได้ชัด หากเปรียบเทียบกับ การปกครองแบบอื่นๆ ที่มีอยู่ในสมัยโบราณด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นแบบราชาธิปไตยหรือการปกครองโดยคณะ บุคคลในรูปแบบต่างๆ อาทิ คณาธิปไตย อภิชนาธิปไตย เป็นต้น กล่าวได้ว่า ประชาธิปไตยแบบเอเธนส์ ยังแฝง ไว้ซึ่งองค์ป ระกอบพื้น ฐานของอุดมการณ์แบบประชาธิปไตยที่ได้รับการสื บทอดและสานต่อเรื่อยมาจวบ จนกระทั่งเข้าสู่โลกยุคปัจจุบัน นั่นคือ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค หรือที่เรียกย่อๆ ว่า “3ส” ในแง่คาศัพท์ “ประชาธิปไตย” คานี้มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณ คือ คาว่า demos หมายถึง ประชาชน และ kratos หมายถึง อานาจปกครอง โดยเมื่อรวมกันจะเรียกว่า Demokratia ซึ่งก็คือ Democracy นั่นเอง ดังนั้น ประชาธิปไตยจึงหมายความถึง การปกครองที่ประชาชนเป็นผู้มีอานาจปกครอง หรือการปกครองโดยประชาชน (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, น.94) กล่าวได้ว่า ประชาธิปไตยดั้งเดิมเมื่อเคลื่อน เข้าสู่โลกสมัยใหม่ บรรดารัฐสมัยใหม่ต่างๆ ต่างก็รับเอาแนวคิดประชาธิปไตยไปปรับใช้กับบริบทของรัฐตนเอง ในรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยมีลักษณะที่แตกต่างไปจากรากฐานดั้งเดิม บางรัฐก็รับเอาแต่เพียงชื่อเพื่อสมอ้างว่า รัฐตนเองได้ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตย อีกทั้งเพื่อสร้างความชอบธรรม (Legitimacy) ให้เป็นที่ยอมรับในระดับ นานาชาติ อาทิเช่น การที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวไว้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558 ว่า “วันนี้ แม้ประเทศไทยจะบริหารงานด้วยอานาจพิเศษ แต่ ก็มีความเป็นประชาธิปไตยถึงร้อยละ 99.99” (สุรชาติ บารุงสุข , 2559, น. 50-51) ทั้งๆ ที่เป็นที่รับรู้กัน โดยทั่วไปในทางวิชาการว่ารูปแบบการปกครองที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาถืออานาจอยู่นั้นไม่ได้มี ความเป็นประชาธิปไตยในทางสากล (Liberal Democracy) แต่ประการใด หากทว่าเป็นรูปแบบการปกครอง ของเผด็จการทหาร (Military Dictator) หรือที่รู้จักกันในวงวิชาการว่าเป็น “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” (Thaistyle Democracy) ที่มีอุดมการณ์ “ราชาชาตินิยม” (Royal-nationalism)1 เป็นหลักยึดเหนี่ยวและใช้ ครอบงาสังคมซึ่งแตกต่างตรงกันข้ามกับ หลักอุดมการณ์ประชาธิปไตยในทางสากลหรือ “3 ส” อย่างที่ได้ กล่าวถึง นั่นคือ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค

1

อุดมการณ์ราชาชาตินิยม (Royal-nationalism) คือสิ่งที่ศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักประวัติศาสตร์คน สาคัญเห็นว่าเป็นเครื่องมือทางวัฒนธรรมและของสถาบันพระมหากษัตริย์และชนชั้นนาตามจารีตของไทยในการสถาปนาและ รักษาสืบทอดโครงสร้างทางการเมืองและระเบียบทางสังคมแบบจารีตไว้ซึ่งถ้ารับรู้และยึดถือตามแล้วก็จะจะนาไปสู่วัฒนธรรม ทางการเมืองแบบรวมศูนย์อานาจ การไม่ไว้ใจประชาชน การกดปราบความแตกต่างหลากหลาย และปิดกั้นความคิดอิสระตาม ระบอบประชาธิปไตยนั่นเอง (สมบัติ จันทรวงศ์, 2553, น.25)

ดร.ไพศาล บรรจุสุวรรณ์

3

การที่บรรดารัฐบาลซึ่งถืออุดมการณ์แบบต่างๆ กันทั่วทุกมุมโลก ล้วนแต่พยายามเอาเสื้อแสงแบบ ประชาธิ ป ไตยมาสวมใส่ เป็ น ประจั ก ษ์ พ ยานอย่ า งดี ว่ า การแสดงจุ ด ยื น ยึ ด มั่ น ในประชาธิ ป ไตยถื อ เป็ น องค์ประกอบสาคัญอันหนึ่งที่สร้างความชอบธรรมให้รัฐบาล (Shapiro, 2003, p. 190) แม้ว่าเนื้อหาสาระหรือ เนื้อในของรัฐนั้นๆ จะไม่ได้มีอะไรที่บ่งบอกถึงสาระสาคัญของความเป็นประชาธิปไตยในทางสากลเลยก็ตาม เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นการทั่วไป การละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน การใช้ ความรุนแรง การปิดกั้นสื่อมวลชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทารัฐประหาร/ยึดอานาจรัฐบาลที่มีที่มาจาก การเลื อ กตั้ง ด้ว ยเหตุดั งนั้ น จึ ง จ าเป็ น อย่ า งยิ่ง ที่จ ะต้อ งศึ ก ษาและท าความเข้า ใจลั กษณะการกลายพัน ธุ์ (mutation) ของประชาธิปไตยแบบดั้งเดิมสู่ประชาธิปไตยจาแลงหรือประชาธิปไตยจอมปลอมในรูปแบบที่ แตกต่ างไปจากหลั ก การสากล เพื่อ ให้ เ ห็ น ถึง ความแตกต่ างในสาระส าคั ญ ว่า ประชาธิป ไตยแบบไหนที่ มี คุณสมบัติของประชาธิปไตยที่แท้จริงที่ทั่วโลกให้การยอมรับ และประชาธิปไตยแบบไหนที่ไม่ใช่เพราะขาด องค์ประกอบหรือคุณสมบัติสาคัญของความเป็นประชาธิปไตย และในการทบทวนวรรณกรรมในงานวิจัยนี้จะ กล่าวถึงประชาธิปไตย 2 แบบ นั่นคือ ประชาธิปไตยแบบไทยๆ (Thai-style Democracy) และประชาธิปไตย แบบสากลหรือประชาธิปไตยแบบตะวันตกหรือก็คือเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democracy) 1.1 ประชาธิปไตยแบบไทยๆ (Thai-style Democracy) คาว่า “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” (Thai-style Democracy) เป็นคาเรียกขานที่มีลักษณะที่บ่งบอก ถึงความเป็นประชาธิปไตยที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะซึ่งไม่อาจเหมือนกับลักษณะประชาธิปไตยแบบตะวันตกได้ การเรี ย กขานประชาธิ ป ไตยที่ มีลั ก ษณะเฉพาะเช่ น นี้เ ป็ น ไปในลั ก ษณะเดี ย วกัน กั บ การที่ เ ผด็ จ การทหาร (Military Dictator) แอบอ้างการปกครองของตนเองภายใต้เสื้อคลุมของประชาธิปไตยซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ อย่างใด ในงานศึกษาของ เอส. อี. ไฟเนอร์ (S.E. Finer) เมื่อปี ค.ศ. 1962 ในหนังสือที่ชื่อว่า The Man on Horseback: The Role of the Military in Politics ไฟเนอร์ได้รวบรวมรายชื่อระบอบการปกครองของผู้นา เผด็จการทหาร 6 คนซึ่งได้แต่งแต้มระบอบการปกครองของตน ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้ (Crick, 2002, p. 7-8) นาสเซอร์2 : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี (Presidential Democracy) อายุบ ข่าน3 : ประชาธิปไตยพื้นฐาน (Basic Democracy) ซูการ์โน4 : ประชาธิปไตยแบบชี้นา (Guided Democracy) ฟรังโก้5 : ประชาธิปไตยอินทรีย์ (Organic Democracy) สเตริสเนอร์6 : ประชาธิปไตยแบบเลือกสรร (Selective Democracy) ทรูฆีโญ7 : นวประชาธิปไตย (Neo-Democracy) 2

กามาล อับเดล นาสเซอร์ ฮุสเซน (Gamal Addel Nasser Hussein, ค.ศ.1918-1970) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ของอียิปต์ ดารงตาแหน่งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1956 จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรม 3 มุฮัมมัด อายุบ ข่าน (Muhammad Ayub Khan, ค.ศ.1907-1974) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ของปากีสถาน ดารงตาแหน่งในช่วงปี ค.ศ. 1958-1969 และเป็นผู้นาเผด็จการทหารคนแรกของปากีสถาน 4 ซูการ์โน (Sukarno, ค.ศ.1901-1970) เป็นประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนีเซีย 5 ฟรังซิสโก ฟรังโก วาอามอนเด (Francisco Franco Bahamonde, ค.ศ.1892-1975) เป็นผู้ปกครองเผด็จการของ สเปน 6 อัลเฟรโดสเตริสเนอร์ มาทิอาวดา (Alfredo Stroessner Matiauda, ค.ศ.1912-2006) เป็นผู้นาเผด็จการทหาร ของปารากวัยในช่วงปี ค.ศ.1954-1989

ดร.ไพศาล บรรจุสุวรรณ์

4

กรณีของไทยนับแต่เหตุการณ์การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบันกล่าวได้ว่าฝ่ายทหารได้มีความพยายามใช้กาลัง ทหารเข้าเปลี่ยนแปลงอานาจรัฐหรือที่เรียกว่าการทารัฐประหาร (Coup d’Etat) ทั้งที่เป็นการยึดอานาจสาเร็จ และที่เป็นกบฏอยู่หลายครั้งซึ่งเมื่อนับรวมกันแล้วมีมากถึง 19 ครั้ง (Farrelly, 2013) และที่ทารัฐประหาร สาเร็จมีถึง 13 ครั้งโดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จนการยึ ดอ านาจทารั ฐ ประหารกลายเป็ นลั กษณะส าคัญ ของสั งคมการเมื องไทย เรี ยกได้ ว่า เป็ น องค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของสิ่งที่เรียกกันว่า “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” (Thai-style Democracy) นั่นคือ จะต้องมีรัฐประหารเป็นเงื่อนไขอันจาเป็นและขาดไม่ได้ แม้ว่าการรัฐประหารจะไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับลักษณะ ของความเป็นประชาธิปไตยตามหลักสากลเลยก็ตาม (Hewison & Kitirianglarp, 2008) อย่ างไรก็ดี ในอดีตนั้ น ทหารมีพฤติกรรมและบทบาททั้งที่เป็นที่ศรัทธายอมรับและสนับสนุนการ ปกครองระบอบประชาธิ ป ไตย เช่ น การบุ ก เบิ ก ในการเปลี่ ย นแปลงระเบี ย บ การปกครองจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยได้สาเร็จในปี พ.ศ. 2475 และในบทบาทที่ขัดต่อ เจตนารมณ์ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบสากลโดยการยึดอานาจการปกครองของรัฐบาลที่ ได้มาจากการเลือกตั้งตามวิถีแห่งประชาธิปไตยในทางสากล โดยมักมีข้ออ้างและสร้างความชอบธรรมในการ โค่นล้มรัฐบาลและฉีกทาลายรัฐธรรมนูญอยู่บ่อยครั้งจนกลายเป็นลักษณะสาคัญของ “ประชาธิปไตยแบบ ไทยๆ” (Thai-style Democracy) กล่าวแบบสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ได้ว่า สิ่งที่มาคู่ขนานกับประชาธิปไตยแบบ ไทยๆ คือการรัฐประหาร (Coup d’Etat) นั่นเองโดยผสมผสานกับการครอบงา (Domination) สังคมการเมือง ด้วยอานาจนา (Hegemony) แบบราชาชาตินิยมหรืออุดมการณ์แบบชาติ ศาสน์ กษัตริย์ (ปฤณ เทพนรินทร์, 2555) หากมองในเชิงหลักการแล้ว รัฐประหารคือการทาลายล้างระบอบประชาธิปไตยแบบสากล (Westernstyle Democracy) นาพาสังคมการเมืองเข้าสู่วังวนของวงจรอุบาทว์ทางการเมือง (Vicious Circle of Politics) (โปรดดูภาพที่ 2.2) สาหรับการเมืองไทยนั้น กล่าวได้ว่า ในช่วงเวลาประมาณ 15 ปีแรก ภายหลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์ อยู่ภ ายใต้รัฐ ธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) เมื่อปี พ.ศ. 2475 ถือได้ว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่ ประชาธิปไตยไทยกาลังดาเนินไปในทิศทางของประชาธิปไตยแบบตะวันตกเป็นลาดับ แต่ก็มาเจออุปสรรค สาคัญเมื่อมีการทารัฐประหารในปี พ.ศ. 24908 และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อานาจสูงสุดในการปกครอง 7

ราฟาเอล เลโอนิดัส ทรูฆีโญ โมลินา (Rafael LeonidasTrujillo Molina, ค.ศ.1891-1961) เป็นประธานาธิบดี ผู้ปกครองสาธารณรัฐโดมินิกันแบบเผด็จการ ตั้งแต่ปี 1930 จนถูกลอบสังหารในปี ค.ศ.1961 8 การรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เป็นการยึดอานาจโดยคณะทหารบก ซึ่งผู้นาส่วนใหญ่เป็น นายทหารนอกประจาการ โดยมีพลโท ผิน ชุณหะวัณ เป็นผู้นา และประกอบด้วย นาวาเอก กาจ กาจสงคราม, พันโท ก้าน จานงภูมิเวท, พันเอก สวัสดิ์ สวัสดิเกียรติ, พันเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และพันเอกเผ่า ศรียานนท์ ได้นากาลังทหารเข้ายึดอานาจ จากรัฐบาลของพลเรือตรี ถวัลย์ ธารงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งดารงตาแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นให้ลาออกจากตาแหน่ง เมื่อทาการ รัฐประหารได้สาเร็จ คณะรัฐประหารได้สนับสนุนให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ขึ้นเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร และแต่งตั้งให้ เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย และได้ประกาศยุบสภาและยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช

ดร.ไพศาล บรรจุสุวรรณ์

5

ประเทศแทบจะไม่ได้ตกมาอยู่ในมือของประชาชนอย่างแท้จริงแต่ประการใด ส่งผลทาให้ประเทศเข้าสู่วงจร อุบาทว์ทางการเมืองโดยมีการทารัฐ ประหาร ยึดอานาจ ฉีกทาลายรัฐธรรมนูญ จัดทารัฐธรรมนูญใหม่ มีการ เลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ และท้ายสุดก็มีการทารัฐประหารกันอีก เป็นเช่นนี้เรื่อยมาจวบจนกระทั่งการ รัฐประหารครั้งล่าสุดหรือครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ลักษณะประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่ เด่นชัดที่สุดเป็นไปตามการตั้งข้อสังเกตของสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ นักประวัติศาสตร์ ทางการเมืองคนสาคัญซึ่งชี้ ว่าประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่เห็นได้ ชัดเจนเป็นรูปธรรมที่สุดเกิดขึ้น เมื่อครั้งการรัฐประหารยึดอานาจการ ปกครองโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, 2551, น. 95) ในแง่นิยามนั้น วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ให้คานิยามลักษณะสาคัญของ “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ไว้อย่าง น่าสนใจยิ่งว่า “ผมมีความรู้สึกอยู่เสมอว่า คาว่าแบบไทยหรือไทยไทย ถ้าเอาไปต่อท้ายคาใดก็ตามมันจะปฏิเสธสิ่งที่ อยู่ข้างหน้าเสมอ เช่น สมมติท่านบอกว่าประชาธิปไตยแบบไทย มันคือไม่ใช่ประชาธิปไตย ถ้าท่านบอกความ ยุติธรรมแบบไทย มันคือไม่ใช่ความยุติธรรม เพราะฉะนั้นถ้าท่านต้องการปฏิเสธอะไร ให้เอาแบบไทยไปใส่สิ่งที่ เป็นมาตรฐานสากลมันคือการปฏิเสธสิ่งนั้น” (วรเจต ภาคีรัตน์, 2559) จากนิยามข้างต้น จะเห็ นว่าคาว่า “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” นั้น โดยแท้จริงแล้วเป็นคาเรียกถึง ระบอบการปกครองที่ไม่มีคุณลักษณะใดๆ ของความเป็นประชาธิปไตยตามมาตรฐานสากลแต่ประการใด หาก ทว่าเป็นระบอบการปกครองแบบอื่นๆ ซึ่งในกรณีของไทยก็คือการปกครองแบบเผด็จการทหาร (Military Dictator) หากพิจารณาจากข้อเท็จจริงในทางประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทยนับตั้งแต่ภายหลัง การปฏิ วั ติ เ ปลี่ ย นแปลงการปกครองจากระบอบสมบู ร ณาญาสิ ท ธิ ร าชย์ ม าเป็ น ระบอบประชาธิ ป ไตยที่ พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) ดังที่ได้กล่าวก็จะพบว่า ตลอดระยะเวลา 84 ปี นับตั้งแต่ พ.ศ. 2475 – 2559 ในสมัยปัจจุบัน ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญใช้มาแล้วมีจานวนมากถึง 19 ฉบับ ด้วยกัน ได้แก่ ฉบับที่ 1 พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 ฉบับที่ 7 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 2489 โดยได้นาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 หรือ “รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม” ร่าง โดย นาวาเอก กาจ กาจสงคราม ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ในรัฐธรรมนูญฯ ฉบับดังกล่าว มาตรา 3 และมาตรา 37 ได้กาหนดให้รัฐสภาประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร โดยพระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้ง สมาชิกวุฒิสภามีจานวนเท่ากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งราษฎรเป็นผู้เลือกตั้ง และได้มอบหมายให้นายควง อภัยวงศ์ เป็น นายกรัฐมนตรีเพื่อจัดตั้งรัฐบาลต่อไป

ดร.ไพศาล บรรจุสุวรรณ์

6

ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 ฉบับที่ 9 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 ฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 ฉบับที่ 12 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ฉบับที่ 14 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 ฉบับที่ 15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ฉบับที่ 16 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับที่ 17 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ฉบับที่ 18 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ฉบับที่ 19 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ยิ่ ง ไปกว่ า นั้ น ประเทศไทยยั ง ได้ มี ก ารท ารั ฐ ประหารที่ ท าส าเร็ จ อั น เป็ น ลั ก ษณะแบบฉบั บ (Stereotype) ของ “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” (Thai-style Democracy) รวมทั้งหมดทั้งสิ้นแล้วมาก 13 ครั้งด้วยกัน ได้แก่ ครั้งที่ 1 รัฐประหาร 1 เมษายน 2476 ครั้งที่ 2 รัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476 ครั้งที่ 3 รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 ครั้งที่ 4 รัฐประหาร 6 เมษายน 2491 ครั้งที่ 5 รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน 2494 ครั้งที่ 6 รัฐประหาร 16 กันยายน 2500 ครั้งที่ 7 รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501 ครั้งที่ 8 รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน 2514 ครั้งที่ 9 รัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 ครั้งที่ 10 รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520 ครั้งที่ 11 รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 ครั้งที่ 12 รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ครั้งที่ 13 รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557

ดร.ไพศาล บรรจุสุวรรณ์

7

ภาพที่ 2.2 แสดงวงจรอุบาทว์ทางการเมืองและประชาธิปไตยแบบไทยๆ

ที่มา: ลิขิต ธีรเวคิน, 2554, น. 157 ในบรรดาการรัฐประหารจานวน 13 ครั้งดังที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น มีอย่างน้อย 6 ครั้ง ที่ก่อการกันขึ้น เพื่อกอบกู้หรือส่งเสริม “ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ” อย่างมีนัยสาคัญ ได้แก่ (1) รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ซึ่งขับโค่นฝ่ายพลเรือนปีกซ้ายของคณะราษฎร และ ขบวนการเสรีไทยภายใต้การนาของรัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ ออกจากอานาจไป (2) รัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500 ซึ่งขจัดกลุ่มนายทหาร-ตารวจที่ต่อต้านคณะเจ้าภายใต้การ นาของจอมพล ป. พิบูลสงครามกับ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ให้ออกจากอานาจไป (3) รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ซึ่งถอนรากถอนโคนการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญทิ้ง และรื้อฟื้นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กลับคืนมาในรูปแบบเผด็จการทหารอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข และมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้สถาปนาระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการขึ้นปกครอง (4) รัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ซึ่งฆ่าหมู่ปราบปรามขบวนการนักศึกษาและประชาชนในเมืองที่ ต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างขุดรากถอนโคนภายใต้อานาจนาของคอมมิวนิสต์ลงไป (5) รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งหยุดชะงักระบอบประชาธิปไตยรัฐสภาจากการเลือกตั้งไว้ เพื่อตัดตอนอานาจนาทางการเมืองของกลุ่มธุรกิจใหม่ที่มีรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร แห่งพรรคไทยรักไทยเป็นตัวแทน คณะรัฐประหารได้ ดาเนินการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นหลังการรัฐประหารโดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี โดยอาศัยอานาจตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ดร.ไพศาล บรรจุสุวรรณ์

8

(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 รัฐบาลชุดนี้มีอายุถึงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งได้มีการเลือกตั้ง เกิดขึ้น นับเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหลังการรัฐประหาร ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคพลังประชาชนชนะ พรรคประชาธิ ปั ต ย์ ไ ด้เ ป็ น เสี ย งข้ างมากในการจัด ตั้ งรั ฐ บาลโดยมี นายสมัค ร สุ นทรเวชขึ้น ดารงตาแหน่ ง นายกรัฐมนตรี ต่อมานายสมัคร สุนทรเวชจาต้องลาออกจากตาแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อถูกศาลรัฐธรรมนูญพิพากษา ว่ากระทาความผิดตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 267 ซึ่งบัญญัติว่า สมาชิกในคณะรัฐมนตรีห้าม ดารงตาแหน่งใดๆ ในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์กรที่ ดาเนินธุรกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อแบ่งปันผลกาไรหรือ รายได้หรือจากการเป็นพนักงานของบุคคลหรือบริษัท นายสมัครถูกตัดสินว่ามีความผิดเพราะยังคงมีตาแหน่ง พิธีกรรายการประกอบอาหารทางโทรทัศน์ขณะที่ดารงตาแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยเหตุดังนั้น พรรคพลั ง ประชาชนซึ่งครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอชื่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ขึ้นดารงตาแหน่ง นายกรัฐ มนตรีแทนนายสมัคร สุนทรเวช นายสมชายเป็นบุคคลซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากอีกคนหนึ่ง เนื่องจากเป็นน้องเขยของทักษิณ โดยสมรสกับเยาวภา ชินวัตรน้องสาวของทักษิณ รัฐบาลของนายสมชาย บริหารประเทศในภาวะยุ่งเหยิงเพียงสองเดือนเศษ (18 กันยายน – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551) โดยศาล รัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคพลังประชาชนในข้อหาทุจริตการเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไพรัช หนึ่งในสมาชิก พรรคพลังประชาชน ทาให้นายสมชายถูกบีบให้ลาออกจากตาแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลยังสั่งตัดสิทธิทางการเมืองของสมชายและกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 5 ปี รวมถึงสั่งยุบพรรค ด้วยดังที่ได้กล่าว เมื่อศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคพลังประชาชน นายเนวิน ชิดชอบ (อดีตพันธมิตรทักษิณที่แยกตัวออกมา หลังจากพรรคพลังประชาชนสลายไป) ได้เสนอตัวสนับสนุนอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลุ่ม “เพื่อนเนวิน ” ที่มี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 37 คน ลงคะแนนเสียงสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ให้ดารงตาแหน่งนายกรัฐมนตรี อย่างไร ก็ดี เป็นที่รับรู้กันว่าการขึ้นดารงตาแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์นั้น ทางฝั่งของกลุ่มผู้สนับ สนุนทักษิณ และคนเสื้อแดงต่างเชื่อว่าการจัดการครั้งนี้มีกองทัพอยู่เบื้องหลัง ต่อมาเมื่อมีการจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นใน เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวคนสุดท้องของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรก็ได้ก้าวขึ้นสู่ ตาแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังได้รับชัยชนะอย่า งท่วมท้นโดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั้งสิ้นร้อยละ 75.03 ผล ปรากฏว่าพรรคเพื่อไทยได้ที่นั่งผู้แทนราษฎรเกินกึ่งหนึ่ง คือ 265 เสียง และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทยก็ได้ก้าวขึ้นสู่ตาแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของไทย (6) รัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 อันเนื่องมาจากกระแสต่อต้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษ กรรมหรือ “พรบ.เหมาเข่ง” การรัฐประหารครั้งนี้นาโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก พร้อมผู้บัญชาการเหล่าทัพประการยึดอานาจการปกครองประเทศในนามของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เริ่มต้นจากการที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยหรือที่รู้จักกันทั่วไป ว่า “พ.ร.บ.เหมาเข่ง” ร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านสภาในวาระ 3 เมื่อเวลา 04.24 น. ของวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ด้วยคะแนน 310 : 0 เสียง โดยมีผู้ที่งดออกเสียง 4 คะแนน ประกอบด้วย (1) นางสาวขัตติยา สวัสดิผล (2) นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ (3) นายวรชัย เหมะ ผู้เสนอร่าง พ.ร.บ.เดิม ก่อนถูกแก้ไขเพิ่มส่วนที่เป็น

ดร.ไพศาล บรรจุสุวรรณ์

9

ปัญหาเข้ามาในชั้นกรรมาธิการ และ (4) นายแพทย์เหวง โตจิราการ เหตุการณ์ครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ วอล์กเอาต์ไปเมื่อร่างผ่านวาระ 2 ก่อนหน้าจะลงมติในวาระที่ 3 การผ่านร่างกฎหมายดังกล่าว ฝ่ายต่างๆ ได้ ทักท้วงกันอย่างเข้มข้น แม้แต่คนเสื้อแดงเองซึ่งเป็นกลุ่มการเมืองที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทย แต่แกนนาพรรค เพื่อไทย ไม่ฟังเสียง และประเมินสถานการณ์ผิดพลาดด้วยการเรียกประชุม ส.ส. สั่งผลักดันร่าง พ.ร.บ. เต็มที่ ห้ามโหวตสวนและห้ามงดออกเสียง สุ ดท้าย ร่าง พ.ร.บ. นี้ไปพบจุดจบโดยวุฒิสภาโหวตคว่าเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 และก่อนหน้านั้นที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้อนุมัติถอนร่าง พ.ร.บ. ทานองเดียวกัน อีก 6 ฉบับ ตามเสียงเรีย กร้องในขณะนั้น แม้รัฐบาลจะเดินเกมถอย แต่ก็ไม่อาจหยุดสถานการณ์ขาลงได้อีก ต่อไป การอนุมัติร่าง พ.ร.บ. กลายเป็นประเด็นการเมืองที่ถูกขยายออกไปอย่างกว้างขวางจนกลายเป็นการ ชุมชนขับไล่รัฐบาลและระบอบทักษิณครั้งใหญ่ที่สุดอีกครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ ใน วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 นายสุเทพ เทือกสุบรรณขึ้นเวทีราชดาเนิน ประกาศยกระดับการต่อสู้เป็น การขจัดระบอบทักษิณแบบถอนรากถอนโคนให้หมดไปจากแผ่นดินไทย วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 นางสาว ยิ่งลั กษณ์ ชิน วัตรได้ทูล เกล้ าฯ ถวายร่างพระราชกฤษฎีกายุบสภาและได้ทรงโปรดเกล้ าฯ ในวันเดียวกัน กาหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ในวันเลือกตั้งมีประชาชนราว 20 ล้านคนออกมาใช้สิทธิ ฝ่ายต่อต้านได้เข้ามาขัดขวางการเลือกตั้งทุกวิถีทาง ขณะเดียวกัน ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า การเลือกตั้ง ครั้ งนี้ เป็ น โมฆะเพราะไม่ได้เลื อ กในวัน เดีย วกันอันเป็นคาวินิ จฉัยที่ถูกวิจารณ์กันมากที่สุ ดและกระทบต่ อ เกียรติภูมิของศาลรัฐธรรมนูญมากที่สุดอีกครั้งหนึ่ง เวลาผ่านไป 6 เดือน การขับไล่นางสาวยิ่งลักษณ์ และ รัฐบาลรักษาการยังไม่ประสบผลสาเร็จ ในที่สุดกองทัพได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกษาในวันที่ 20 พฤษภาคม เรียกตัวกลุ่มต่างๆ 7 กลุ่ม ทั้งตัวแทนม็อบ กปปส. กลุ่ม นปช. รัฐบาล ฝ่ายค้าน เพื่อเข้าเจรจาที่สโมสร ทหารบกในวันที่ 21 พฤษภาคม แต่ยังตกลงกันไม่ได้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก ได้มอบการบ้าน 5 ข้อให้ทั้ง 7 ฝ่ายไปหาข้อสรุป แล้วมาประชุมต่อในวั นที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ในการ เจรจาวันที่ 22 พฤษภาคม นายชัยเกษม นิติสิริ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวยืนยันว่า รัฐบาลรักษาการจะไม่ลาออก ด้วยเหตุดังนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาก็ได้ประกาศยึดอานาจทารัฐประหาร และสั่งควบคุมตัวผู้เข้าร่วมประชุม ทันที ถือเป็นการสิ้นสุดรัฐบาลจากการเลือกตั้งและเป็นการเริ่มต้นยุคเผด็จ การทหารอีกครั้งหนึ่ง กล่าวได้ว่าทางลัดทางหนึ่งในการทาความเข้าใจลักษณะพิเศษเฉพาะของ “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ก็คือการย้อนรอยประวัติคาว่า “ประชาธิปไตย” ดู กล่าวคือ ศัพท์ “ประชาธิปตัย” (สะกดแบบเดิม) ที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบัญญัติขึ้นตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2455 คานี้แรกเริ่มเดิมทีทรงใช้ใน ความหมายที่ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “republic” หรือ “สาธารณรัฐ” อันหมายถึงระบบการปกครองที่ไม่ มีกษัตริย์ (a government with no king) การเปลี่ยนย้ายความหมายของคาว่า “ประชาธิปตัย” จาก “republic” ไปเป็น “democracy” แบบที่สังคมไทยเข้าใจและใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นเกิดขึ้นภายหลังการ ประนีประนอมระหว่างคณะราษฎรกับสถาบันกษัตริย์ในการอภิวัตน์ล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2475 เมื่ อ คณะผู้ ป กครองใหม่ เ ลื อ กใช้ ร ะบอบราชาธิ ป ไตยภายใต้รั ฐ ธรรมนูญ (constitutional

ดร.ไพศาล บรรจุสุวรรณ์

10

monarchy) แทนที่ จ ะเปลี่ ย นไปเป็ น ระบอบสาธารณรั ฐ เสี ย ที เ ดี ย ว ดั ง ปรากฏหลั ก ฐานว่ า ค าว่ า “ประชาธิปไตย” ถูกใช้ในความหมายใหม่ให้หมายถึง “democracy” ในเค้าโครงการเศรษฐกิจของหลวง ประดิษฐมนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2475 (ปฏิทินเดิม) (เกษียร เตชะพีระ, 6 เมษายน 2550, น. 6) สาหรับในระยะปัจจุบันประมาณราว 30 ปีที่ผ่านมา กล่าวได้ว่า ลักษณะของความเป็นประชาธิปไตย แบบไทยๆ นั้นเห็นได้ชัดยิ่งที่การเมืองไทยยังคงวนเวียนอยู่กับการรัฐประหาร ดังจะเห็นได้ว่า การรัฐประหาร เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 เกิดขึ้นหลังการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ใน การปฏิรู ปเมื่อวัน ที่ 20 ตุล าคม 2520 นั้น เป็นการยึดอานาจจากรัฐ บาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งเคย เปรียบเทียบทหารเหมือนกับเปลือกหอยที่คอยปกป้องเนื้อหอยไม่ให้ระคายเคือง แต่ผลสุดท้ายเนื้อหอยกลับถูก เปลือกหอยเล่นงานเสียเอง มูลเหตุของการรัฐประหารครั้งนี้ก็คือการให้ยุติรัฐบาลพลเรือนที่ใช้นโยบายไปทาง เอียงขวาชนิดสุดโต่ง อย่างไรก็ดี เหตุผลอันแท้จริงที่อยู่เบื้องหลังก็คือการแย่งชิงอานาจทางการเมือง ภายหลัง พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ได้เข้ารับการบริหารประเทศโดยดารงตาแหน่งนายกรัฐมนตรีคน ที่ 15 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2520 จนถึงวันที่ 12 พฤษภาคม 2522 ระหว่างนั้นก็ได้มีการดาเนินการจัดทา รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น มา ท้ายสุดก็ได้มีการประกาศใช้เมื่อปี 2521 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็น รัฐธรรมนูญที่ พยายามสร้างระบบการเมืองขึ้นใหม่เรียกว่า ประชาธิปไตยครึ่งใบ อันได้แก่ การเปิดโอกาสให้ข้าราชการทหาร และข้าราชการพลเรือนมีบทบาททางการเมืองโดยการดารงตาแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี และการได้รับแต่งตั้ง เป็นวุฒิสมาชิก ขณะเดียวกันกลุ่มพลังประชาชนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ ก็มีโอกาส ได้สมัครลงรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และดารงตาแหน่งบริหารเป็นรัฐมนตรี พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ดารงตาแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกระยะหนึ่งหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญจึงถูกแทนที่โดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งดารงตาแหน่งนายกรัฐมนตรียาวนานถึง 8 ปี 5 เดือน ภายใต้การนาของรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นที่ทราบกันว่าเป็นระบอบการประชาธิปไตยครึ่งใบ (Semi-democratic Regime) ที่ พยายามประสานระหว่างกลุ่มพลังเดิมคือข้าราชการทหารและข้าราชการพลเรือน และพลังกลุ่มใหม่อันเกิด จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ (อดินันท์ พรหมพันธ์ใจ, 2558) หลังจากที่พลเอกเปรมดารงตาแหน่งนายกรัฐมนตรีมากกว่า 8 ปี 5 เดือน ก็มีการเรียกร้องให้มีการ แต่งตั้งนายกรั ฐมนตรี ที่มาจากสมาชิกสภาผู้ แทนราษฎร พลเอกชาติช าย ชุณหะวัน จึงเข้าดา รงตาแหน่ง นายกรัฐมนตรี (4 สิงหาคม 2531 จนถึง 23 กุมภาพันธ์ 2534) ผลสุดท้ายก็เกิดการยึดอานาจทางการเมืองอีก ครั้ งหนึ่ งโดยคณะรั ฐ ประหาร ภายใต้ชื่ อว่า คณะรักษาความสงบเรีย บร้อยแห่ งชาติ (รสช.) เมื่ อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ระหว่างที่มีการจัดทารัฐธรรมนูญขึ้นใหม่เมื่อปี 2534 นี้ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีต ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศก็ได้เข้ารับการดารงตาแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2534 จนถึงวันที่ 7 เมษายน 2535 ซึ่งเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้วก็มีการประกาศใช้ทั่วไป เวลาต่อจากนั้น พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก ก็ได้รับการเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2535 และได้มีการต่อต้านขึ้นจนเกิดเหตุการณ์นองเลือดมีผู้เสียชีวิตมากถึง 40 กว่าคน ระหว่างวันที่ 17 – 20 พฤษภาคม 2535 ที่เรียกว่า “เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ” เหตุการณ์ที่กาลังจะลุกลามร้ายแรงก่อความเสียหาย

ดร.ไพศาล บรรจุสุวรรณ์

11

อย่างมากมายนั้นก็ได้สงบลงเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีรับสั่งให้พลเอกสุจินดา คราประยูร และ พลตรีจาลอง ศรีเมือง คู่พิพาทเข้าเฝ้าและทรงเตือนให้นึกถึงความเสียหายที่จะเกิดต่อประเทศชาติอย่างใหญ่ หลวง เมื่อเหตุการณ์สงบลงแล้ว นายอานัน ท์ ปันยารชุน ก็ได้รับแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง หนึ่งเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2535 จนถึงวันที่ 23 กันยายน 2535 สิ่งที่ตามมาคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2534 โดยมีประเด็นสาคัญที่สุดคือ นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้ง จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและหลังจากมีการเลือกตั้งแล้วก็เริ่มกระบวนการทางการเมืองแบบเกมแห่ ง ตัวเลข กล่าวคือ พรรคใดได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสูงสุดก็จะเป็นพรรคแกนนาในการจัดตั้งรัฐบาล และ หัวหน้าพรรคก็จะได้รับการดารงตาแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี จึงนาไปสู่รัฐบาลชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรค ประชาธิปัตย์ที่เรียกว่า ชวน 1 แต่รัฐบาลชวน 1 อยู่ได้เพียง 2 ปี 9 เดือน เนื่องจากกรณีการจัด สรรที่ดินทากิน ให้แก่บรรดาเศรษฐีแทนที่จะจัดสรรให้กับ ราษฎรที่ยากจน ที่เรียกกันว่า สปก.4-01 (สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และคณะ, 2557, น. 110-117) จึงทาให้นายชวน หลีกภัย ประกาศยุบสภาและหลังจากนั้น ก็จัดให้มีการ เลือกตั้งใหม่ขึ้น หลังจากการเลือกตั้ง นายบรรหาร ศิลปะอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยก็ได้ดารงตาแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2538 เนื่องจากพรรคชาติไทยได้จานวน ส.ส. มากที่สุด หลังจากนั้นเพียง 1 ปี 4 เดือน นายบรรหารก็ได้ประกาศยุบสภาหลังจากถูก กดดันให้ลาออกจากนายกรัฐมนตรี แต่นายบรรหารเลือกที่จะยุบ สภา หลังจากการเลือกตั้งครั้งต่อมาพรรคความหวังใหม่ซึ่งมี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นหัวหน้าพรรค ก็ได้ ดารงตาแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2539 แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลนาย บรรหารและพลเอกชวลิตคือ มีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง เริ่มต้นด้วยการอดอาหารของนายฉลาด วรฉัตร จนมีการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ขึ้นจานวน 99 คน เพื่อจัดทารัฐธรรมนูญใหม่ขึ้นทั้งฉบับ และรัฐธรรมนูญฉบับนั้นก็เสร็จในรัฐบาลพลเอกชวลิตในปี 2540 รัฐบาลพลเอกชวลิ ต ยงใจยุทธ อยู่ได้ประมาณ 1 ปี ก็ลาออกจากตาแหน่ง ผลสุดท้ายก็ไม่สามารถ จัดตั้งรัฐบาลใหม่ และพรรคประชากรไทยได้แตกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ หัวหน้า พรรคประชาธิปัตย์จึงได้ตั้งรัฐบาลขึ้นเป็นรัฐบาลชวน 2 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 และดารงตาแหน่งอยู่ ประมาณ 3 ปี จึงประกาศยุบสภาก่อนครบสมัยเพียงไม่กี่วัน ในระหว่างนี้ พันตารวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตรก็ได้ ตั้งพรรคไทยรักไทยขึ้น และหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 พรรคไทยรักไทยก็ได้มีโอกาสจัดตั้ง รัฐบาลและอยู่ในตาแหน่งจนสภาครบวาระ 4 ปี หลังจากนั้นก็มีการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้งหนึ่ง (พ.ศ. 2548) พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรก็ได้ดารงตาแหน่ งนายกรัฐมนตรีอีกประมาณหนึ่งปี แต่เนื่องจากแรงกดดันทาง การเมืองหลายเรื่องจึงได้ประกาศยุบสภา และมีการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งมีการคว่าบาตรการ เลือกตั้งครัง้ นี้โดยพรรคการเมืองใหญ่ๆ ผลสุดท้ายศาลรัฐธรรมนูญก็ให้การเลือกตั้งนั้นเป็นโมฆะ แต่ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ก็ยังรักษาการตาแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป ในระหว่างนั้นก็เกิดเหตุการณ์สาคัญคือ การยึดอานาจโดย คณะทหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ระหว่างที่นายกรัฐมนตรีรักษาการ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร กาลัง ร่วมประชุมที่สหประชาชาติ

ดร.ไพศาล บรรจุสุวรรณ์

12

จากที่ได้กล่าวในเชิงประวัติศาสตร์การเมืองมาทั้งหมด กล่าวได้ว่าเหตุการณ์รัฐประหารนับตั้งแต่เมื่อ วันที่ 20 ตุลาคม 2520 จวบจนมาถึงเหตุการณ์ 19 กันยายน 2549 เป็นระยะเวลาประมาณ 30 ปีนั้นการ เมืองไทยยังหนีไม่พ้นวงจรอุบาทว์ทางการเมืองได้พ้น ยังคงวนเวียนอยู่กับการรัฐประหาร การปกครองโดย ทหารภายใต้อานาจเผด็จการทหาร บางช่วงก็มีลักษณะประณีประนอมระหว่างประชาธิปไตยกับการปกครอง โดยทหาร โดยมีการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบขึ้นในสังคมไทย มีการยึดอานาจโดย รสช. เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 มีเหตุการณ์นองเลือดที่เรียกว่า พฤษภาทมิฬ ระหว่างวันที่ 17-20 พฤษภาคม 2535 มีการ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนปี 2540 มีรัฐบาลที่มาจากพรรคเดียวและรัฐสภาที่ดาเนินอยู่จนครบสมัย 4 ปี และมีการยึดอานาจทางการเมืองอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 (และอีกครั้งหนึ่งในอีกราวเกือบ 10 ปีให้หลัง นั่นคือ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557) กล่าวเฉพาะการรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 แน่นอน ว่าทาให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะผู้ประสบความสาเร็จจากกลไกของการเลือกตั้งนั้นขาดสะบั้นลง ฐานเสียงในชนบทที่สนับสนุนทักษิณทาให้เขาชนะเลือกตั้งถึง 3 ครั้งในปี พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2549 ผู้สนับสนุนรัฐประหารอ้างว่าฉันทานุมัติที่ได้จากการเลือกตั้งนั้นถูกธนาธิปไตยลดทอนคุณค่าลงไป พวก เขาหันไปสมาทานความคิดแบบจารีตนิยมเกี่ยวกับอานาจอันเปี่ยมล้นด้วยคุณธรรมและศีลธรรมที่ปรากฏอยู่ใน องค์พระมหากษัตริย์ และเครือข่ายข้าราชบริพารในกองทัพ ฝ่ายตุลาการ และข้าราชการชั้นสูง พวกเขาปฏิเสธ ที่จะยอมรับว่าวัฒนธรรมการเลือกตั้งที่เข้มแข็งได้พัฒนาขึ้นแล้วในสังคมการเมืองไทย (แอนดรู วอล์คเกอร์ , เขียน, จักรกริช สังขมณี, แปล, 2559, น. 304) แม้ว่าในปัจจุบันจะได้ชื่อว่าเป็นโลกยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งเป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองของคลื่นประชาธิปไตยที่ แพร่สะพัดไปทั่วโลกภายหลังการล่มสลายของลัทธิเผด็จการคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 – 1990 แล้วก็ตาม แต่สาหรับกรณีของประเทศไทยทิศทางการพัฒนาการเมืองและประชาธิปไตยกลับ เดินสวนทางส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศในสายตาประชาคมโลก ทาให้การศึกษา “ประชาธิปไตย แบบไทยๆ” (Thai-style Democracy) จาเป็นต้องกลับมาให้ความสนใจอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนา ประเด็นดังกล่าวนี้มาพิจารณาในเชิงเปรียบเทียบกับหลักประชาธิปไตยแบบสากล (Liberal Democracy) โดย ดาเนินการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนเพื่อให้เห็น ปมปัญหา ลักษณะสาคัญ ตลอดจนข้อแตกต่างชนิด ตรงกันข้ามกับรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามหลักสากล 1.2 ประชาธิปไตยแบบสากล (Western-style Democracy/Liberal Democracy) หลังสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1939-1945) เป็นต้นมาจนถึงทุกวันนี้ เมื่อใดก็ตามที่เรากล่าวถึง ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย (Democracy) ส่วนใหญ่แล้วเราหมายถึงประชาธิปไตยแบบสากล บางครั้งก็เรียกว่าประชาธิปไตยแบบตะวันตก (Western-style Democracy) หรือเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democracy) พูดง่ายๆ คือการรวมกันของแนวคิดใน 2 แนวคิดที่สาคัญด้วยกัน นั่นคือ ระหว่างแนวคิดแบบ เสรี นิ ย ม (Liberalism) กั บ แนวคิ ด ประชาธิ ป ไตย (Democracy) (โปรดดู ต ารางที่ 2.2) แน่ น อนว่ า ประชาธิปไตยแบบตะวันตกหรือเสรีประชาธิปไตยย่อมไม่เหมือนกับประชาธิปไตยแบบไทยๆ (Thai-style Democracy) จุดเริ่มต้นที่พอจะกล่าวได้ว่าเริ่มเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนของเรื่องนี้ น่าจะเป็นห้วงเวลาเดียวกัน กับการพังทลายของกาแพงเบอร์ลินมีการรวมเยอรมันตะวันออกเข้ากับเยอรมันตะวันตกในช่วงปลายปี ค.ศ.

ดร.ไพศาล บรรจุสุวรรณ์

13

1989 และการล่มสลายของสหภาพโซเวียตจนกลายเป็นประเทศต่างๆ มากถึง 15 ประเทศ (หนึ่งในนั้นคือ ประเทศรัสเซียอย่างที่รู้จักกันในปัจจุบัน) เหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น นับเป็นจุดสิ้นสุดยุคสงครามเย็น (Cold War, ค.ศ. 1945-1991) อันเป็น การต่อสู้ขับเคี่ยวแข่งขันกันมาอย่างยาวนานกว่า 40 ปี นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ระหว่าง มหาอานาจอย่างสหรัฐอเมริกาที่เชิดชูประชาธิปไตยแบบเสรีและเศรษฐกิจแบบทุนนิยม กับคู่ต่อกรอย่างฝั่ง สหภาพโซเวี ย ตประเทศคอมมิ ว นิ ส ต์ ที่ ใ ช้ ร ะบบเศรษฐกิ จ วางแผนจากส่ ว นกลาง ผลจากชั ย ชนะของ สหรัฐอเมริกา ทาให้นักวิชาการคนสาคัญฟรานซิส ฟุกุยามา (Francis Fukuyama) นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน เชื้อสายญี่ปุ่น ผลิตผลงานชิ้นสาคัญที่ชื่อว่า The End of History and The Last Man (จุดสิ้นสุดของ ประวัติศาสตร์และมนุษย์คนสุดท้าย) ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1992 ฟุกุยามา เสนอความคิดสาคัญว่า ยุคหลังสงคราม เย็ น คือยุ คสิ้ น สุ ดของประวัติศาสตร์ ในแง่ที่จะไม่มีการเปลี่ ยนแปลงครั้งใหญ่ในการต่อสู้ ทางการเมืองและ เศรษฐกิจอีกแล้วและโลกทั้งโลกจะมุ่งสู่ทุนนิยมและประชาธิปไตยแบบเสรีอย่างไม่มีข้อยกเว้น เสรีประชาธิปไตยหรือประชาธิปไตยแบบเสรี (Liberal Democracy) คืออะไรนั้น กล่าวได้ว่า เสรี ประชาธิป ไตยคือเรื่ องที่ว่า ใครมีอานาจในการปกครอง กับอานาจในการปกครองควรมีขอบเขตอย่างไร ประชาธิปไตยเป็นคาตอบของปัญหาแรก ส่วนเสรีนิยมเป็นคาตอบของปัญหาที่สอง โดยนักคิดเสรีนิยมมีกรอบ ความคิดว่า มนุษย์ทุกคนล้วนต้องการเสรีภาพ มนุษย์และสังคมไม่สามารถดารงอยู่ได้หากไร้ซึ่งเสรีภาพ ด้วย เหตุดังนั้น การจากัดเสรีภาพส่วนบุคคลเพื่อการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม จะต้องเป็นการจากัดเสรีภาพเท่าที่ จาเป็นและมีอยู่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วยเหตุนี้ แนวคิดเสรีนิยมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยจึง เน้นให้รัฐและรัฐบาลมีขอบเขตอานาจที่จากัด (minimal state and limited government) อีกทั้งยังเน้น ตลาดที่เสรี ด้วยเชื่อว่าเสรีภาพทางเศรษฐกิจคือมรรควิธีที่ดีที่สุดของการไปสู่ความมั่งคั่งของคนทุกคนในฐานะ สมาชิกของสังคมในระบอบประชาธิปไตยแบบเสรี เสรีนิยมทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจจึงเป็น สิ่งที่ขาดไม่ได้ ในระบอบเสรีประชาธิปไตย โดยในระบอบการปกครองเช่นนี้จะสร้างสภาพแวดล้อมในสังคมในด้านต่างๆ ได้แก่ เสรีภาพทางความคิด เสรีภาพในการสื่อสารและการแสดงออก เสรีภาพของสื่อ เสรีภาพในการรวมกลุ่ม เสรีภาพในการนับถือศาสนา เสรีภาพในการไม่ถูกจับกุมหรือยึดทรัพย์ อย่างไม่ชอบด้วยเหตุผลและหลักนิติรัฐ (Rawls, 1971, p. 201-203) เราอาจพูดได้ว่าประชาธิปไตยแบบเสรีอยู่ในสถานะที่เหนือกว่าทางเลือกอื่นๆ ที่มีอยู่ในขณะนี้ แม้ว่า จะไม่ใช่การปกครองที่ดีที่สุดก็ตาม ดังที่วินสตัน เชอร์ชิล (Winston Churchill, ค.ศ. 1874-1965) อดีต นายกรัฐมนตรีของอังกฤษเคยกล่าวเอาไว้ว่า “ประชาธิปไตยนั้นเป็นรูปแบบการปกครองที่แย่ที่สุด แต่ทั้งนี้ต้อง ไม่นับรวมรูปแบบการปกครองแบบอื่นๆ ทั้งหมดทั้งมวลที่เคยถูกนามาใช้แล้วนับครั้งไม่ถ้วน” (Democracy is “the worst form of government except all those other forms that have been tried from time to time.”) (Shapiro, 2003, p.207) กล่าวได้ว่า ประชาธิปไตยแบบสากลถือเป็นประชาธิปไตยกระแสหลักที่ประชาคมโลกต่างยึดถือใน สาระสาคัญตรงประเด็นสาคัญที่ว่า ประชาธิปไตยเหนือกว่าทางเลือกอื่นๆ ที่มีอยู่ในขณะนี้ ก็เพราะมันยกระดับ กลไกในการเปิดโปงความฉ้อฉลให้มีสภาพเป็นสถาบันขึ้นมา ซึ่งทาให้บรรดาผู้ ที่มีความทะเยอทะยานทาง

ดร.ไพศาล บรรจุสุวรรณ์

14

การเมืองมีแรงจูงใจที่จะทาให้มุมมืดต่างๆ สว่างขึ้น รวมถึงเปิดโปงความล้มเหลวและความหน้าไหว้หลังหลอก ของคนอื่น ประชาธิปไตยจึงเป็นยาถอนพิษขนานเอกสาหรับต่อต้านการผูกขาดอานาจ เพราะการผูกขาด อานาจย่อมเอื้อให้เกิดการรักษาไว้ซึ่งอานาจของตนเองได้อย่างง่ายๆ (Democracy is thus an important antidote to power monopolies that are all too easily held hostage to the imperatives for their own maintenance.) (Shapiro, 2003, p.202) ในแง่นี้ ประชาธิปไตยในแบบสากลจึงให้ประโยชน์ใน ทางการปกครองมากกว่าระบอบการปกครองแบบอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปกครองโดยคณะบุคคลจานวน น้อยและระบอบเผด็จการ เพราะระบอบดังกล่าวนามาซึ่งผลพวงในทางปฏิบัติจากการยอมให้อานาจตกแก่คน ฉลาดและ “คนดี” เพียงไม่กี่คน นั่นคือ พวกเขาจะสูญเสียความเป็นคนฉลาดและ “คนดี” ไปในที่สุด พวกเขา จะกลายเป็น คนที่โฉดเขลาต่อความต้องการและข้อเรียกร้องของมหาชน พวกเขาจะทิ้งให้คนที่อยู่วงนอก กลายเป็นคนที่ไม่มีส่วนร่วมอะไรจริงๆ เลยในอาณาจักรการปกครองตามวิถีแห่งประชาธิปไตย เหตุผ ลส าคัญที่ทาให้ ป ระชาธิป ไตยแบบสากลได้รับการสนับสนุนว่าเป็นระบอบการปกครองที่ มี ความชอบธรรม (Legitimacy) นั่นคือ ประชาชนควรมีสิทธิมีเสียงในการตัดสินใจใดๆ ที่มีผลกระทบต่อพวก เขา ดังคาแถลงอันกินใจของอดีตประธานาธิบดีของแอฟริกาใต้ เนลสัน แมนเดลา ที่มีต่อศาลแบ่งแยกสีผิวของ แอฟริกาใต้ก่อนที่จะถูกตัดสินจาคุกในปี ค.ศ. 1963 ที่กล่าวว่า “เราไม่ควรตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายที่ เสียงของเขาและผองเพื่อนร่วมชาติไม่ได้มีส่วนร่วมใดๆ เลยในการยกร่าง” นอกจากนี้ ประชาธิปไตยตามหลัก สากลจะให้ความสาคัญต่อหลักการของการปกครองตนเอง (Self-government) ซึ่งสืบสายธารความคิดมา ตั้งแต่กรีกโบราณ ดังปรากฏเรื่องเล่าว่า บ่อยครั้งที่กองทหารจากรัฐหรือเมืองอื่นๆ เผชิญหน้ากับกองทหารแห่ง เอเธนส์โบราณ ฝ่ายรัฐอื่นๆ นั้นมักถามสิ่งที่ฝ่ายตนเห็นว่าเป็นสิ่งธรรมดาที่สุดของโลกมนุษย์ นั่นคือ คาถามที่ว่า พวกท่านเป็นใคร? และใครเป็นนายของพวกท่าน? ซึ่งชาวนครรัฐเอเธนส์โบราณที่ปกครองตนเองก็มักตอบด้วย ความฉงนในคาถามเช่นนั้นว่า ที่นี่ไม่มีใครเป็นนาย พวกเราปกครองกันเอง ซึ่งคาตอบเช่นนี้ก็ทาให้ บรรดา นักรบจากนครรัฐอื่นๆ เป็นที่งุนงงอย่างมากเพราะพวกเขาไม่มีประสบการณ์การเป็นนายของตนเองเฉกเช่น ชาวนครรัฐเอเธนส์ (Muller, 1961, p. 145) สาระสาคัญที่มีร่วมกันของลักษณะประชาธิปไตยแบบสากล ประกอบด้วย (1) การรับรองสิทธิพลเมือง (Civic Substance) รับรองเสรีภาพในการแสดงออก และความเสมอภาคในเชิงกฎหมาย (2) มีการเลือกตั้งที่ โปร่งใส เป็นธรรม เปิดโอกาสให้มีผู้แข่งขั นที่หลากหลายให้ประชาชนได้เลือก (3) เคารพความแตกต่างทาง ความคิด และทางกายภาพ (4) เคารพเสียงข้างมาก ขณะเดียวกันก็ปกป้อง คุ้มครองเสียงข้างน้อย (5) รัฐบาลมี ประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของประชาชน (6) มีช่องทางให้พลเมืองแสดงความต้องการ และสื่อสาร ไปยั ง ระบบการเมือ ง และ (7) เป็ น ระบอบการปกครองที่พ ลเมือ งในสั งคมมีวัฒ นธรรมที่ส่ งเสริมระบอบ ประชาธิปไตย (สิริพรรณ นกสวน สวัสดี และคณะ, 2557, น. 95) ขณะที่บางทัศนะความคิด เห็นว่า ตามหลัก ประชาธิปไตยแบบสากลนั้นจะต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 4 ประการต่อไปนี้ คือ (1) เสรีภาพของปัจเจก บุคคล (Individual liberty) (2) หลักนิติธรรม (Rule of Law) (3) ความเสมอภาคทางการเมือง (Political Equality) และ (4) ผู้นารัฐบาลต้องมาจากการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และยุติธรรม (Free and Fair Election) (อดินันท์ พรหมพันธ์ใจ, 2558, น. 77)

ดร.ไพศาล บรรจุสุวรรณ์

15

ตารางที่ 2.2 เปรียบเทียบหลักการเสรีนิยมกับหลักการประชาธิปไตย ประเด็นสาคัญ หลักการเสรีนิยม หลักการประชาธิปไตย จุดเน้น สิทธิเสรีภาพเหนือร่างกาย ชีวิต ความเสมอภาคและอานาจ และทรัพย์สินของบุคคลพลเมือง อธิปไตยของประชาชน การ และหลักนิติธรรม ปกครองโดยเสียงข้างมาก ทิศทาง จากัดอานาจของผู้ปกครอง กระจายอานาจไปให้ประชาชน เนื้อหา แสดงออกผ่านองค์ประกอบด้าน แสดงออกผ่านองค์ประกอบด้าน รัฐธรรมนูญของระบอบ ประชาชนของระบอบ ประชาธิปไตยซึ่งปกป้องคุ้มครอง ประชาธิปไตยซึ่งมุ่งให้ประชาชนได้ สิทธิเสรีภาพของพลเมืองจาก เป็นเจ้าของและใช้อานาจรัฐด้วย อานาจรัฐ, เน้นความจาเป็นที่ ตัวเองอย่างเสมอภาคกัน, เน้น สถาบันต่างๆ ต้องตรวจสอบ บทบาทของพลเมืองธรรมดาและ ถ่วงดุลกันอย่างซับซ้อนเพื่อป้องกัน การเข้าร่วมของมวลชนผ่านการ การสะสมรวมศูนย์รวบริบผูกขาด เลือกตั้งที่เสรี เป็นธรรมสม่าเสมอ การใช้อานาจโดยมิชอบของผู้กุม และกระบวนการเคลื่อนไหวอื่นๆ ตาแหน่งรัฐบาล, มีนัยถึงการ โดยรวมตัวจัดตั้งกันเป็นพรรค ปกครองเพื่อประชาชน การเมือง, มีนัยถึงการปกครองโดย ประชาชน นักคิด จอห์น ล็อก, เจมส์ เมดิสัน, ฌอง-ฌากส์ รุสโซ อเล็กซิส เดอ ต็อกเกอวิลล์, จอห์น สจ็วต มิลล์, เบนจามิน กองสตองด์ หลักหมายอ้างอิง ระบบการเมืองการปกครอง ระบบการเมืองการปกครอง อเมริกันอันเกิดจากสภาร่าง ฝรั่งเศสอันเกิดจากการปฏิวัติปี รัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1787 ค.ศ. 1789 ที่มา: เกษียร เตชะพีระ, 2557, น. 49 นอกจากนี้ สาระสาคัญของประชาธิปไตยแบบสากลยังครอบคลุมไปถึง แนวคิดที่สาคัญ 3 ประการ ได้แก่ (1) สิทธิ (2) เสรีภาพ และ (3) ความเสมอภาค หรือเรียกง่ายๆ ว่า “3ส” ในส่วนความหมายของสิทธิ (Rights)9 คือ อานาจการตัดสินใจของมนุษย์ในการทากิจกรรมต่างๆ โดยที่ไม่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น ส่วน เสรีภาพ (Freedom/Liberty) หมายถึง การใช้สิทธิ์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นอิสระปราศจากอานาจบังคับ และต้องไม่กระทบกับเสรีภาพของผู้อื่น สาหรับความเสมอภาค (Equality) นั้นโดยทั่วไปหมายถึง การที่คนใน 9

ประเด็นเรื่องสิทธิ (Rights) นี้ในทัศนะของศาสตราจารย์ ดร.สมภาร พรหมทา นักวิชาการด้านปรัชญาคนสาคัญ ของไทยได้จาแนกประเภทของสิทธิไว้อย่างน่าสนใจว่าจัดแบ่งได้ออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ (1) สิทธิในทรัพย์สินส่วนตัว หมายถึง สิทธิที่จะอ้างความเป็นเจ้าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และ (2) สิทธิในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของสังคมการเมือง หมายถึง สิทธิที่ จะอ้างว่า สิ่งใดก็ตามที่เป็นสมบัติร่วมของสังคมการเมือง สิ่งนั้นสมาชิกแห่งสังคมการเมืองทุกคนมีสิทธิใช้สอยอย่างเท่าเทียม กัน และสมาชิกแห่งสังคมการเมืองทุกคนมีสิทธิที่จะมีส่วนในกิจกรรมทางการเมืองเสมอเหมือนกัน (สมภาร พรหมทา, 2538, น. 55)

ดร.ไพศาล บรรจุสุวรรณ์

16

สังคมได้รับสิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองตามกฎหมายที่กาหนดอย่างเท่าเทียมและเสมอเหมือนกัน เป็นความ เสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย เนื่องจากความเสมอภาคเป็นแนวคิดที่มีความซับซ้อนมากกว่าแนวคิดเรื่องสิทธิและ เสรีภาพ ความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมายจึงไม่ใช่ ความเสมอภาคโดยธรรมชาติ เพราะความเสมอภาคโดย ธรรมชาติเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก เช่น คนเราอาจมีความฉลาดไม่เท่ากัน รวยไม่เท่ากัน บางคนพิการ ผู้หญิงก็ ไม่เหมือนกับผู้ชาย และมีข้อจากัดของเพศตัวเองแตกต่างกันไป ความเสมอภาคจึงเป็นเรื่องของแนวทางปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น รัฐควรทาอย่างไรเพื่อจะทาให้คนที่แตกต่างกันรับรู้ได้ว่าได้รับความชอบธรรมและเกิดความเท่า เทียมกัน เช่น การได้รับโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกันไม่ว่าจะรวยหรือยากจน ไม่ว่าเจ็บป่วยหรือพิการ ซึ่ง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันรัฐได้ใช้กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายเป็นเครื่ องมือสาคัญในการกากับดูแลให้ สมาชิกของรัฐเกิดความเสมอภาคและความยุติธรรมในสังคม สาหรับในแง่มุมจากผลงานศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบนั้น ในงานศึกษาของคาลดอร์ และเวจโวดา (Kaldor and Vejvoda, 1999, p.3) ชี้ว่าประชาธิปไตยแบบสากลจะเน้นเนื้อหาและกระบวนการที่เกิดขึ้น อย่างต่อเนื่องที่ทาให้ประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงความสัมพันธ์เชิงอานาจทั้งในด้านการมีส่วนร่วมและการ ตัดสินใจ ขณะที่งานศึกษาของเดวิด เฮลด์ (Held, 1987) เห็นว่าประชาธิปไตยแบบสากลมีจุดเน้นอยู่ที่การมี ส่วนร่วมทางเมืองอย่างเปิดกว้างในชีวิตประจาวันของประชาชนและในกิ จกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทางสังคมทุก ระดับ แม้กระทั่งในชั้นเรียน ส่วนในแง่นิยามประชาธิปไตยที่เป็นที่รู้จักกันอย่างสากลและได้รับการอ้างอิงกัน โดยมากมีที่มาจากคากล่าวของอับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln, ค.ศ.1809-1865) ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา ซึ่ งกล่าวไว้ ณ เมืองเกตตีส์เบิร์ก เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1863 โดยชี้ให้เห็นถึง ลักษณะสาคัญของประชาธิปไตยเอาไว้ว่าเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน อันที่จริงแล้วรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้น หากพิจารณาตามความคิดของอริสโตเติล นัก ปรัชญาในยุคกรีกโบราณ การปกครองแบบประชาธิปไตยนั้นเป็นเพียง 1 ใน 6 รูปแบบ (ตารางที่ 2.3) การ ปกครองที่อริสโตเติลได้แบ่งไว้โดยอริสโตเติลเห็นว่าเป็นรูปแบบที่อยู่ในฝั่งที่เลว ทั้งนี้อริสโตเติล ใช้หลักเกณฑ์ 2 ประการในการจัดแบ่ง ได้แก่ หลักเกณฑ์ประเภทที่ 1 เป็นประเภทที่ดี เป็นการปกครองที่ยึดผลประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก ได้แก่ (1) ราชาธิปไตย (Monarchy) ปกครองโดยคนคนเดียว (2) อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) ปกครองโดยคณะบุคคลหรือคนจานวนน้อย (3) โพลิตี้ (Polity) ปกครองโดยคนจานวนมาก หลักเกณฑ์ประเภทที่ 2 เป็นประเภทที่เลว เป็นการปกครองที่ยึดผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นหลัก ได้แก่ (1) ทรราชย์ (Tyranny) ปกครองโดยคนคนเดียว (2) คณาธิปไตย (Oligarchy) ปกครองโดยคณะบุคคลหรือคนจานวนน้อย (3) ประชาธิปไตย (Democracy) ปกครองโดยคนจานวนมาก

ดร.ไพศาล บรรจุสุวรรณ์

17

ตารางที่ 2.3 แสดงรูปแบบการปกครองตามความคิดของอริสโตเติลใน 6 รูปแบบ ประเด็นการปกครอง ประเภทที่ดี ประเภทที่เลว คนเดียวปกครอง ราชาธิปไตย (Monarchy) ทรราชย์ (Tyranny) ปกครองโดยคณะบุคคล อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) คณาธิปไตย (Oligarchy) ปกครองโดยคนจานวนมาก โพลิตี้ (Polity) ประชาธิปไตย (Democracy) ที่มา: ส.ศิวรักษ์, 2543, น. 59 ในบรรดาการปกครองทั้ง 6 รูปแบบดังกล่าวข้างต้น สาหรับอริสโตเติลแล้ว หากในทางปฏิบัติต้อง เลือกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 รูปแบบของประเภทที่เลว (หลักเกณฑ์ประเภทที่ 2 ได้แก่ ทรราชย์ คณาธิปไตย และประชาธิปไตย) อริสโตเติลยินดีเลือกประชาธิปไตย เพราะเป็นระบอบการปกครองในประเภท ที่เลว แต่ก็เป็นการปกครองที่จัดได้ว่าเลวน้อยที่สุด แต่สาหรับอริสโตเติลแล้ว เขาเห็นว่า ประชาธิปไตยเป็น เงื่อนไขที่จาเป็น (necessary condition) สาหรับพัฒนาไปสู่การปกครองที่ดี (โพลิตี้) แต่ก็ยังห่างไกลจากการ เป็ น เงื่อนไขที่เพียงพอส าหรั บ การปกครองที่ดี อริส โตเติล จึงสรุปว่า การปกครองแบบโพลิ ตี้จาเป็นต้องมี คุณลั กษณะแบบประชาธิปไตยในฐานะเงื่อนไขอันจาเป็น แต่ถึงกระนั้น ประชาธิปไตยก็ยังไม่ใช่เงื่อนไขที่ เพียงพอ (sufficient condition) ต่อความยุติธรรมและการปกครองที่ดี โลกยุคปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ต่างก็ใช้รูปแบบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตย แม้ว่าประชาธิปไตย จะไม่ใช่การปกครองที่ดีที่สุดเหมือนอย่างโพลิตี้ แต่เป็นการปกครองที่เลวน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับการปกครองใน ประเภทเดียวกัน และเป็นเงื่อนไขที่จาเป็นหรือขาดไม่ได้เพื่อพัฒนาไปสู่การปกครองที่ดี (เบอร์นาร์ด คริก, เขียน, อธิป จิตตฤกษ์, แปล, 2557, น. 64) ดังคากล่าวของวินสตัน เชอร์ชิล อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษที่ กล่าวยืนยันต่อสภาผู้แทนราษฎร (House of Commons) เมื่อปี ค.ศ. 1947 ว่าประชาธิปไตยนั้นเป็นรูปแบบ การปกครองที่แย่ที่สุด แต่ทั้งนี้ต้องไม่นับรวมรูปแบบการปกครองแบบอื่นๆ ทั้งหมดที่เคยถูกนามาใช้แล้วนับ ครั้งไม่ถ้วน หากจะกล่าวให้สรุปรวบรัดชัดเจนถึง ลักษณะและคุณสมบัติที่สาคัญของประชาธิปไตยแบบสากล หรือเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democracy) อาจกล่าวสรุปได้ว่า นอกจากจะต้องประกอบด้วยแนวคิดเรื่อง สิทธิ เสรีภ าพ ความเสมอภาค หรื อ “3ส” รวมถึง 2 แนวคิดใหญ่ๆ ที่ประกอบคู่กันแล้ว (เสรีนิยมและ ประชาธิปไตย) ยังจะต้องประกอบขึ้นด้วยองค์ประกอบ 3 ประการต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย ได้แก่ (ศุภมิตร ปิ ติพัฒน์, 2555, น. 212–213) (1) ส่วนที่มาจากการเลือกตั้งของรัฐ ควบคุมส่วนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของรัฐ โดยทั่วไป เรามักจะ พูดถึงลักษณะข้อนี้อย่างเป็นรูปธรรมว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งควบคุมกองทัพและข้าราชการประจาอื่นๆ แต่ ค วามจริ ง นั้ น ส่ ว นที่ ไ ม่ไ ด้ ม าจากการเลื อ กตั้ ง ของรั ฐ มี เ นื้อ หาที่ ค รอบคลุ ม กว้ า งขวางกว่ า กองทั พ หรื อ ข้าราชการประจาทั่วไปและแตกต่างกันในแต่ละสังคม (2) ส่วนที่มาจากการเลือกตั้งของรัฐอยู่ภายใต้อิทธิพล กระทั่งอยู่ภายใต้การควบคุมของประชาชนอีก ต่อหนึ่ง (3) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน และระหว่างประชาชนด้วยกัน อยู่บนพื้นฐานที่ทุกคนมี ความเสมอภาคกันภายใต้กฎหมายโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ

18 บรรณานุกรม ภาษาไทย เกษียร เตชะพีระ. (6 เมษายน 2550). รัฐประหารกับประชาธิปไตยไทย, มติชน, น. 6. เกษียร เตชะพีระ. (21 มีนาคม 2557). เสรี vs. ประชาธิปไตย, มติชนสุดสัปดาห์, น. 49 เบอร์นาณด คริก, เขียน, อธิป จิตตฤกษ์, แปล. (2557). ประชาธิปไตย: ความรู้ฉบับพกพา. กรุงเทพฯ: โอเพ่น เวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์. ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมศัพท์รัฐศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์. ลิขิต ธีรเวคิน. (2554). วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย. (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 แก้ไขปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2559). ประชาธิปไตยแบบไทย บทนามติชน. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2559, สืบค้นจาก http://pantip.com/topic/33013484 ส.ศิวรักษ์. (2543). แนวคิดทางปรัชญาการเมืองของอริสโตเติล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศยาม. สมบัติ จันทรวงศ์. (2553). ความแตกแยกของธรรมวิทยาแห่งพลเมืองกับมุมมองทางปรัชญาการเมือง: ข้อสังเกตเบื้องต้น. บทความพิเศษเสนอในการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสนตร์ แห่งชาติ ครั้งที่ 11 วันที่ 25 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ณ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. น. 1-44. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และคณะ. (2557). เมนูคอร์รัปชันและการแสวงหาผลประโยชน์. กรุงเทพฯ: อักษร สัมพันธ์ (1987). สมภาร พรหมทา. (2538). ปรัชญาสังคมและการเมือง. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. (2551). สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ: พี.เพรส. สุรชาติ บารุงสุข. (3 มิถุนายน 2559). 2 ปีแห่งการคืนความสุข มองต่างมุม 12 ประการ. มติชนสุดสัปดาห์, น. 50 – 51. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี และคณะ. (2557). คาและแนวคิดในประชาธิปไตยสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท. ศุภมิตร ปิติพัฒน์. (2555). บทวิพากษ์ธรรมวิทยาแห่งพลเมืองของประกาศกร่วมสมัย เกษียร เตชะพีระ, ธงชัย วินิจจะกูล และสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. กรุงเทพฯ: คบไฟ. อดินันท์ พรหมพันธ์ใจ. 2558. รัฐราชการไทยในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ปัญหาระบอบประชาธิปไตย ครึ่งใบ (2523 – 2531). วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปีที่ 45 ฉบับ ที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2558, น. 75 – 104. แอนดรู วอล์คเกอร์, เขียน, จักรกริช สังขมณี, แปล. (2559). ชาวนาการเมือง อานาจในเศรษฐกิจชนบท สมัยใหม่ของไทย. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.

19 ภาษาอังกฤษ Crick, Bernard. (2002). Democracy: A Very Short Introduction. Oxford University Press: Oxford. Farrelly, Nicholas. (2013). Why democracy struggles: Thailand’s elite coup culture. Australian Journal of International Affairs, Vol. 67, No. 3, pp. 281-296. Finer, Samuel E. (1962). The Man on Horseback: The Role of the Military in Politics. U.S.A: Transaction Publishers. Hewison, Kevin and Kengkij Kitirianglarp. (2008). “Thai-Styles Democracy”: The Royalist Struggle for Thailand’s Politics. Paper presented to the Contemporary Thailand Workshop, November 11-12, 2008, FedEx Global Education Center, University of North Carolina at Chapel Hill. Held, David. (1987). Models of Democracy. Cambridge: Polity Press. Kaldor, M. and Vejvoda, I. (1999). “Democratization in Central and East European Countries: An Overview”. In M. Kaldor and I. Vejvoda (eds.). Democratization in Central and Eastern Europe. London: Pinter. Muller, Herbert J. (1961). Freedom in the Ancient World. Harper and Brothers: New York. Rawls, John. (1971). A Theory of Justice. Cambridge, Mass.: Harvard University Press. Shapiro, Ian. (2003). The Moral Foundation of Politics. New Haven, U.S.A: Yale University Press.

View more...

Comments

Copyright ©2017 KUPDF Inc.
SUPPORT KUPDF